ผลของใยอาหาร และรีซิสเทรนต์สตาร์ชสกัดจากเปลือกเนื้อกล้วยดิบต่อการเจริญและการผลิตกรดไขมันสายสั้นของเชื้อ Lactobacillus plantarum /

By: ผสุดี ตังวัชรินทร์Contributor(s): สุชาติ สุขสถิตย์ | กานต์ สุขสุแพทย์Call Number: ARTICLE (Thai) Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD60M02 | กล้วย -- ใยอาหาร | กล้วย -- ใยอาหาร -- วิจัย In: วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 34, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559) 36-47Summary: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ชสกัดจากเปลือกกล้วยและเนื้อกล้วยไข่ดิบต่อการเจริญและการผลิตกรดไขมันสายสั้นของเชื้อ Lactobacillus plantarum TU2 ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว MRS โดยทำการวิเคราะห์การเจริญ การผลิตกรดทั้งหมด กรดแลกติก กรดไขมันสายสั้นอะซิเตต โพรพิโอเนตและบิวทิเรตของเชื้อ L. plantarum TU2 พบว่าใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ชส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียชนิดนี้ โดยเชื้อL. plantarum TU2 ที่ทำการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว De Man, Rogosa and Sharpe (MRS) ที่มีการเสริมใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ช มีอัตราการเจริญมากกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) โดยมีค่า 0.94±0.01 0.96±0.04 และ 0.63±0.01 log cfu/ชั่วโมง ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับระยะเวลาหนึ่งชั่วอายุของทั้งสองกลุ่มมีระยะเวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) โดยมีค่า 0.73±0.01 0.72±0.03 และ 1.08±0.02 ชั่วโมง ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น การเสริมใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ช ยังทำให้เชื้อ L. plantarum TU2 สามารถผลิตกรดทั้งหมด กรดแลกติก และกรดไขมันสายสั้นโดยเฉพาะกรดอะซิเตต และบิวทิเรตเพิ่มมากขึ้น (P<0.05) ใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ชที่สกัดได้จากเปลือกและเนื้อกล้วยไข่ดิบมีสมบัติความเป็นพรีไบโอติกและสามารถการนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมัก
No physical items for this record

YJ2017 M03

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ชสกัดจากเปลือกกล้วยและเนื้อกล้วยไข่ดิบต่อการเจริญและการผลิตกรดไขมันสายสั้นของเชื้อ Lactobacillus plantarum TU2 ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว MRS โดยทำการวิเคราะห์การเจริญ การผลิตกรดทั้งหมด กรดแลกติก กรดไขมันสายสั้นอะซิเตต โพรพิโอเนตและบิวทิเรตของเชื้อ L. plantarum TU2 พบว่าใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ชส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียชนิดนี้ โดยเชื้อL. plantarum TU2 ที่ทำการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว De Man, Rogosa and Sharpe (MRS) ที่มีการเสริมใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ช มีอัตราการเจริญมากกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) โดยมีค่า 0.94±0.01 0.96±0.04 และ 0.63±0.01 log cfu/ชั่วโมง ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับระยะเวลาหนึ่งชั่วอายุของทั้งสองกลุ่มมีระยะเวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) โดยมีค่า 0.73±0.01 0.72±0.03 และ 1.08±0.02 ชั่วโมง ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น การเสริมใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ช ยังทำให้เชื้อ L. plantarum TU2 สามารถผลิตกรดทั้งหมด กรดแลกติก และกรดไขมันสายสั้นโดยเฉพาะกรดอะซิเตต และบิวทิเรตเพิ่มมากขึ้น (P<0.05) ใยอาหารและรีซิสแทนต์สตาร์ชที่สกัดได้จากเปลือกและเนื้อกล้วยไข่ดิบมีสมบัติความเป็นพรีไบโอติกและสามารถการนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมัก

There are no comments on this title.

to post a comment.