ผลการใช้น้ำมันหอมระเหยกระเทียมร่วมกับการบรรจุภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปรต่อการรอดของ E. coli ในกุ้งแช่เย็น / พรรณจิรา วงศ์สวัสดิ์ และคนอื่นๆ.

Call Number: ARTICLE (Thai) Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD60M05 | น้ำมันหอมระเหย -- กระเทียม | น้ำมันหอมระเหย -- กระเทียม -- วิจัย In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 30, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2558) 71-80Summary: ผลการใช้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมร่วมกับการบรรจุภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปร (40% Co2 + 60%N2 และ 60%Co2 + 40% N2) ต่อการเหลือรอดของ E.Coli ในกุ้งแช่เย็น ที่ถูกสร้างการปนเปื้อนและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8+2 องศาเซลเซียส พบว่าสภาวะการเก็บรักษา มีผลต่อค่าอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุดและช่วงเวลาการเกิด lag phase ของ E.Coli อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <0.05) โดยพบว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่ผ่านการแช่น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมมีค่าอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุดเท่ากับ 0.26 log CFU/g. วัน และมีค่าช่วงเวลาการเกิด lag phase 0.62 วันตามลำดับ ในส่วนของการใช้สภาวะบรรยากาศดัดแปรพบว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่เก็บภายใต้สภาวะ 60%Co2 + 40% N2 มีค่าอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุด (0.19-0.24 log CFU/g. วัน ) ต่ำกว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่เก็บภายใต้สภาวะ 40% Co2 + 60%N2 (0.23-0.31 log CFU/g .วัน) แต่มีค่าช่วงเวลาการเกิด lag phase (1.81-2.59 วัน) สูงกว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่เก็บภายใต้สภาวะ 40% Co2 + 60%N2 (1.44-2.03 วัน) ผลการทดลองยังพบว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยร่วมกับการบรรจุภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปรในช่วงที่ศึกษามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ E.Coli กล่าวคือไม่พบการเจริญของ E.Coli ในกุ้งแช่เย็นนี้ตลอดช่วงอายุการเก็บรักษา.
No physical items for this record

YJ2017 M05

ผลการใช้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมร่วมกับการบรรจุภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปร (40% Co2 + 60%N2 และ 60%Co2 + 40% N2) ต่อการเหลือรอดของ E.Coli ในกุ้งแช่เย็น ที่ถูกสร้างการปนเปื้อนและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8+2 องศาเซลเซียส พบว่าสภาวะการเก็บรักษา มีผลต่อค่าอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุดและช่วงเวลาการเกิด lag phase ของ E.Coli อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <0.05) โดยพบว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่ผ่านการแช่น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมมีค่าอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุดเท่ากับ 0.26 log CFU/g. วัน และมีค่าช่วงเวลาการเกิด lag phase 0.62 วันตามลำดับ ในส่วนของการใช้สภาวะบรรยากาศดัดแปรพบว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่เก็บภายใต้สภาวะ 60%Co2 + 40% N2 มีค่าอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุด (0.19-0.24 log CFU/g. วัน ) ต่ำกว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่เก็บภายใต้สภาวะ 40% Co2 + 60%N2 (0.23-0.31 log CFU/g .วัน) แต่มีค่าช่วงเวลาการเกิด lag phase (1.81-2.59 วัน) สูงกว่า E.Coli ในกุ้งแช่เย็นที่เก็บภายใต้สภาวะ 40% Co2 + 60%N2 (1.44-2.03 วัน) ผลการทดลองยังพบว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยร่วมกับการบรรจุภายใต้สภาวะบรรยากาศดัดแปรในช่วงที่ศึกษามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ E.Coli กล่าวคือไม่พบการเจริญของ E.Coli ในกุ้งแช่เย็นนี้ตลอดช่วงอายุการเก็บรักษา.

There are no comments on this title.

to post a comment.