ไซบูทรามีน...สารอันตรายแฝง...ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD61M12 | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร -- ไซบูทรามีน | ยาลดความอ้วน -- ไซบูทรามีน In: วารสาร อพวช 16, 193 (ก.ค. 2561) 56-59Summary: ไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารเคมีอินทรีย์ มีลักษณะเป็นผงแป้งสีขาว คล้ายเกลือ หรือน้ำตาล ไม่มีกลิ่น ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จัดเป็นสารที่ถูกลักลอบนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้สรรพคุณลดน้ำหนัก ในปี 2553 มีการตรวจสอบพบผลข้างเคียงที่อันตราย ทำให้ประเทศในแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทย ประกาศยกเลิกใช้ และงดจำหน่ายไซบูทรามีน โดยผลจากการรับสารไซบูทรามีน จะมีอาการความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้หรืออาเจียน ท้องผูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และตามข้อต่อต่างๆ หากบริโภคไซบูทรามีนเป็นระยะเวลานาน หัวใจจะเต้นผิดจังหวะ เกิดภาพหลอน เกิดภาวะไตวาย ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีมติยกระดับควบคุมสารไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559.
No physical items for this record

YJ2019 M01

ไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารเคมีอินทรีย์ มีลักษณะเป็นผงแป้งสีขาว คล้ายเกลือ หรือน้ำตาล ไม่มีกลิ่น ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จัดเป็นสารที่ถูกลักลอบนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้สรรพคุณลดน้ำหนัก ในปี 2553 มีการตรวจสอบพบผลข้างเคียงที่อันตราย ทำให้ประเทศในแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทย ประกาศยกเลิกใช้ และงดจำหน่ายไซบูทรามีน โดยผลจากการรับสารไซบูทรามีน จะมีอาการความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้หรืออาเจียน ท้องผูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และตามข้อต่อต่างๆ หากบริโภคไซบูทรามีนเป็นระยะเวลานาน หัวใจจะเต้นผิดจังหวะ เกิดภาพหลอน เกิดภาวะไตวาย ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีมติยกระดับควบคุมสารไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559.

There are no comments on this title.

to post a comment.