การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเครื่องดื่มที่ทำมาจากผักผลไม้ / รัติยากร ศรีโตคร, วีรวุฒิ วิทยานันท์.

By: รัติยากร ศรีโตครContributor(s): วีรวุฒิ วิทยานันท์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD62M03 | สารเคมี | เครื่องดื่ม | ผักผลไม้ In: กรมวิทยาศาสตร์การเเพทย์ 60, 3 (ก.ค-ก.ย 2561) 108-122Summary: ได้ศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครอบคลุมสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ จำนวน 49 สาร ในตัวอย่างเครื่องดื่มที่ำจากผักผลไม้ ซึ่งปรับปรุงจากวิธี AOAC Official Method 2007.01 และวิธีของ Anastassiades M. และคณะ ที่ตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างผักและผลไม้ โดยเพิ่มเทคนิค salting out ในขั้นตอนการสกัดตรวจหาชนิดและปริมาณด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ ชนิดไมโครอีซีดี และเอฟพีดีในการทดสอบความใช้ได้ของวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยใช้น้ำฝรั่งเป็นตัวแทนเครื่องดื่มที่ทำจากผักผลไม้ วิธีดังกล่าวมีขีดจำกัด ของการตรวจพบเท่ากับ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วงความเป็นเส้นตรงของการวิเคราะห์ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ อยู่ในช่วง 0.03-0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ความแม่นแสดงด้วย % recovery อยู่ในช่วง 64.2-118.6% ความเที่ยง แสดงด้วย HORRAT อยู่ในช่วง 0.1-1.3 นอกจากนั้นเพื่อให้ทราบสถานการณ์การตกค้างได้นำวิธีที่พัฒนาขึ้นไปใช้ตรวจวิเคราะห์สารเคมี กำจัดศัตรูพืชในเครื่องดื่มที่ทำจากผักและผลไม้ ได้แก่ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำแคร์รอต น้ำทับทิม และน้ำผักผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 100 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบการตกค้างของสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสมากที่สุด คือ chlorpyrifos, ethion, pirimiphos-methyl และ profenofos ปริมาณตั้งแต่น้อยกว่า 0.03-1.22 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ตรวจพบเพียงสารเดียวคือ cypermethrin ปริมาณ 0.04 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และตรวจไม่พบสารในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน
No physical items for this record

YJ2019 M04

ได้ศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครอบคลุมสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ จำนวน 49 สาร ในตัวอย่างเครื่องดื่มที่ำจากผักผลไม้ ซึ่งปรับปรุงจากวิธี AOAC Official Method 2007.01 และวิธีของ Anastassiades M. และคณะ ที่ตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างผักและผลไม้ โดยเพิ่มเทคนิค salting out ในขั้นตอนการสกัดตรวจหาชนิดและปริมาณด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ ชนิดไมโครอีซีดี และเอฟพีดีในการทดสอบความใช้ได้ของวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยใช้น้ำฝรั่งเป็นตัวแทนเครื่องดื่มที่ทำจากผักผลไม้ วิธีดังกล่าวมีขีดจำกัด ของการตรวจพบเท่ากับ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วงความเป็นเส้นตรงของการวิเคราะห์ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ อยู่ในช่วง 0.03-0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ความแม่นแสดงด้วย % recovery อยู่ในช่วง 64.2-118.6% ความเที่ยง แสดงด้วย HORRAT อยู่ในช่วง 0.1-1.3 นอกจากนั้นเพื่อให้ทราบสถานการณ์การตกค้างได้นำวิธีที่พัฒนาขึ้นไปใช้ตรวจวิเคราะห์สารเคมี กำจัดศัตรูพืชในเครื่องดื่มที่ทำจากผักและผลไม้ ได้แก่ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำแคร์รอต น้ำทับทิม และน้ำผักผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 100 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบการตกค้างของสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสมากที่สุด คือ chlorpyrifos, ethion, pirimiphos-methyl และ profenofos ปริมาณตั้งแต่น้อยกว่า 0.03-1.22 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ตรวจพบเพียงสารเดียวคือ cypermethrin ปริมาณ 0.04 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และตรวจไม่พบสารในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน

There are no comments on this title.

to post a comment.