การพัฒนาสารทดแทนเกลือเพื่อลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์ซุปเห็ดสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว / วรรณดี มหรรณพกุล, จันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรี.

By: วรรณดี มหรรณพกุลContributor(s): จันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรีMaterial type: ArticleArticleSubject(s): กรมวิทยาศาสตร์บริการ | FOOD62M04 | เกลือ | ขนม -- ปริมาณโซเดียม | เกลือโซเดียม | กรมวิทยาศาสตร์บริการ -- วิจัย In: วารสารผลงานวิชาการกรมวิทยาศาสตร์บริการ 7, 7 (ส.ค. 2561) 78-88Summary: การพัฒนาสารทดแทนเกลือนี้ใช้หลักการลดขนาดอนุภาคเกลือโซเดียม (NaCl) ให้อนุภาคมีขนาด 45 ไมครอน และนำไปผสมโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 2:1 (โดยน้ำหนัก) และทดสอบการยอมรับโดยชิมตัวอย่างน้ำเกลือ โดยใช้วิธีการทดสอบ Triangle test ผู้ชิม 12 คน และคำนวณสถิติด้วย Chi-Square (X2) พบว่า การทดสอบน้ำเกลือเข้มข้น ร้อยละ 1 ผู้ชิมไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างตัวอย่างควบคุม (เกลือโซเดียม) กับสารทดแทนเกลืออัตราส่วน.1:1.และน้ำเกลือ ร้อยละ 2 ผู้ทดสอบชิมไม่สามารถแยกเกลือโซเดียมกับสารทดแทนเกลือได้อัตราส่วน.1:1.และ.2:1.ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (P>0.05) แต่ผู้ชิมสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเกลือโซเดียมกับสารทดแทนเกลืออัตราส่วน 1:2 ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.05) สารทดแทนเกลือที่พัฒนาสูตร โดยใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ผสมกับโซเดียมคลอไรด์ ในอัตราส่วน 60:40, 65:35.และ.70:30 และเติมทอรีน ร้อยละ 1 ร่วมกับกรดทาร์ทาริก ร้อยละ 0.1 หรือกรดแอสคอร์บิก ร้อยละ 0.1 สารทดแทนเกลือที่ผลิตนี้มีโซเดียม 15.01 - 17.59 กรัม/100 กรัม ซุปเห็ดฟางเติมสารทดแทนเกลือที่มีโพแทสเซียมคลอไรด์ผสมกับโซเดียมคลอไรด์ในอัตราส่วน 65:35 พบว่า มีโซเดียม 32.38 - 35.97 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (150 กรัม) ซึ่งมีค่าโซเดียมจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำมาก เกลือปรุงรสผสมสาหร่ายหรือสารทดแทนเกลือที่พัฒนาสูตร เพื่อปรุงแต่งรสผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโดยปรุงกล้วยทอดกรอบ มีส่วนประกอบคือ โพแทสเซียมคลอไรด์ ผสมโซเดียมคลอไรด์ (65:35 กรัม) เติมทอรีน ร้อยละ 1 กรดแอสคอร์บิก ร้อยละ 0.1 และผสมสาหร่าย เกลือปรุงรสผสมสาหร่ายปริมาณ 100 กรัม พบว่ามี K 65.58 กรัม มี Na 9.09 กรัม และมี NaCl 86.85 กรัม กล้วยทอดกรอบเติมเกลือปรุงรสผสมสาหร่าย มีโซเดียม 131.20 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (100 กรัม) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงและเป็นไปตามข้อกำหนดอาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำ
No physical items for this record

YJ2019 M04

การพัฒนาสารทดแทนเกลือนี้ใช้หลักการลดขนาดอนุภาคเกลือโซเดียม (NaCl) ให้อนุภาคมีขนาด 45 ไมครอน และนำไปผสมโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 2:1 (โดยน้ำหนัก) และทดสอบการยอมรับโดยชิมตัวอย่างน้ำเกลือ โดยใช้วิธีการทดสอบ Triangle test ผู้ชิม 12 คน และคำนวณสถิติด้วย Chi-Square (X2) พบว่า การทดสอบน้ำเกลือเข้มข้น ร้อยละ 1 ผู้ชิมไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างตัวอย่างควบคุม (เกลือโซเดียม) กับสารทดแทนเกลืออัตราส่วน.1:1.และน้ำเกลือ ร้อยละ 2 ผู้ทดสอบชิมไม่สามารถแยกเกลือโซเดียมกับสารทดแทนเกลือได้อัตราส่วน.1:1.และ.2:1.ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (P>0.05) แต่ผู้ชิมสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเกลือโซเดียมกับสารทดแทนเกลืออัตราส่วน 1:2 ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.05) สารทดแทนเกลือที่พัฒนาสูตร โดยใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ผสมกับโซเดียมคลอไรด์ ในอัตราส่วน 60:40, 65:35.และ.70:30 และเติมทอรีน ร้อยละ 1 ร่วมกับกรดทาร์ทาริก ร้อยละ 0.1 หรือกรดแอสคอร์บิก ร้อยละ 0.1 สารทดแทนเกลือที่ผลิตนี้มีโซเดียม 15.01 - 17.59 กรัม/100 กรัม ซุปเห็ดฟางเติมสารทดแทนเกลือที่มีโพแทสเซียมคลอไรด์ผสมกับโซเดียมคลอไรด์ในอัตราส่วน 65:35 พบว่า มีโซเดียม 32.38 - 35.97 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (150 กรัม) ซึ่งมีค่าโซเดียมจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำมาก เกลือปรุงรสผสมสาหร่ายหรือสารทดแทนเกลือที่พัฒนาสูตร เพื่อปรุงแต่งรสผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโดยปรุงกล้วยทอดกรอบ มีส่วนประกอบคือ โพแทสเซียมคลอไรด์ ผสมโซเดียมคลอไรด์ (65:35 กรัม) เติมทอรีน ร้อยละ 1 กรดแอสคอร์บิก ร้อยละ 0.1 และผสมสาหร่าย เกลือปรุงรสผสมสาหร่ายปริมาณ 100 กรัม พบว่ามี K 65.58 กรัม มี Na 9.09 กรัม และมี NaCl 86.85 กรัม กล้วยทอดกรอบเติมเกลือปรุงรสผสมสาหร่าย มีโซเดียม 131.20 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (100 กรัม) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงและเป็นไปตามข้อกำหนดอาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำ

There are no comments on this title.

to post a comment.