ปริมาณพลังงาน น้ำตาลและข้อมูลโภชนาการอื่นๆ ในเครื่องดื่ม "ชาไข่มุก"

Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD63M06 | น้ำตาล | น้ำตาล -- แง่โภชนาการ | ชา | การปรุงอาหาร (ชา) | อาหาร | เครื่องดื่ม In: ฉลาดซื้อ 25, 220 (มิ.ย. 2562) 32-39Summary: โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างชานมไข่มุกแบบสูตรปกติ จำนวน 25 ยี่ห้อ ที่มีจำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก พบว่ายี่ห้อที่ให้ปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อแก้วน้อยที่สุด คือ 157 กิโลแคลอรี (kcal) เทียบกับข้าวสวย 1.96 ทัพพี ส่วนยี่ห้อที่ให้พลังงานต่อแก้วมากที่สุด คือ 769 กิโลแคลอรี (kcal) เทียบกับข้าวสวย 9.61 ทัพพี สำหรับยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลต่อแก้วน้อยที่สุด คือ 16 กรัม เทียบกับน้ำตาล 4 ช้อนชา และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ 74 กรัม เทียบกับน้ำตาล 18.5 ช้อนชา นอกจากนี้ ผลทดสอบหาปริมาณโลหะหนักในเม็ดไข่มุก ไม่พบโลหะหนักประเภทตะกั่ว (Lead) ในทุกตัวอย่าง ส่วนสารกันบูด พบว่าเม็ดไข่มุกทุกตัวอย่างตรวจพบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) ในปริมาณแตกต่างกัน และตรวจพบกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) 22 ตัวอย่าง ซึ่งสารกันบูดทั้งสองประเภทที่พบไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน การบริโภคชานมไข่มุกอาจทำให้เกิดพลังงานส่วนเกิน เพราะมีน้ำตาล และแป้งจากเม็ดไข่มุก รวมถึงไขมันจากส่วนผสมที่เป็นนมหรือครีมเทียม หากบริโภคชานมไข่มุกอาจต้องลดปริมาณข้าวหรือแป้ง เพื่อไม่ให้เกิดพลังงานส่วนเกินมากกว่าที่ร่างกายต้องการ และหากสะสมจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น.
No physical items for this record

YJ2020 M05

โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างชานมไข่มุกแบบสูตรปกติ จำนวน 25 ยี่ห้อ ที่มีจำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก พบว่ายี่ห้อที่ให้ปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อแก้วน้อยที่สุด คือ 157 กิโลแคลอรี (kcal) เทียบกับข้าวสวย 1.96 ทัพพี ส่วนยี่ห้อที่ให้พลังงานต่อแก้วมากที่สุด คือ 769 กิโลแคลอรี (kcal) เทียบกับข้าวสวย 9.61 ทัพพี สำหรับยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลต่อแก้วน้อยที่สุด คือ 16 กรัม เทียบกับน้ำตาล 4 ช้อนชา และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ 74 กรัม เทียบกับน้ำตาล 18.5 ช้อนชา นอกจากนี้ ผลทดสอบหาปริมาณโลหะหนักในเม็ดไข่มุก ไม่พบโลหะหนักประเภทตะกั่ว (Lead) ในทุกตัวอย่าง ส่วนสารกันบูด พบว่าเม็ดไข่มุกทุกตัวอย่างตรวจพบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) ในปริมาณแตกต่างกัน และตรวจพบกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) 22 ตัวอย่าง ซึ่งสารกันบูดทั้งสองประเภทที่พบไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน การบริโภคชานมไข่มุกอาจทำให้เกิดพลังงานส่วนเกิน เพราะมีน้ำตาล และแป้งจากเม็ดไข่มุก รวมถึงไขมันจากส่วนผสมที่เป็นนมหรือครีมเทียม หากบริโภคชานมไข่มุกอาจต้องลดปริมาณข้าวหรือแป้ง เพื่อไม่ให้เกิดพลังงานส่วนเกินมากกว่าที่ร่างกายต้องการ และหากสะสมจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น.

There are no comments on this title.

to post a comment.