TY - SER AU - สุจินต์ พราวพันธุ์ AU - พิริยะ ศรีเจ้า TI - ความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหาร KW - วัสดุสัมผัสอาหาร KW - ความปลอดภัยด้านอาหาร N1 - YJ2017 M02 N2 - วัสดุที่สัมผัสอาหารในปัจจุบันมีความหลากหลาย มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกันตามความเหมาะสม แต่บางครั้งอาจมีอันตรายเกิดขึ้นจากวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ การใช้งานผิดวัตถุประสงค์ หรือการดูแลรักษาที่ไม่ดีพอ ทำให้มีโอกาสได้รับสารที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย การเลือกใช้งานวัสดุสัมผัสอาหารต้องพิจารณาวัสดุแต่ละชนิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของฉลาก เช่น โฟม ควรใช้บรรจุอาหารที่อุณหภูมิไม่เกิน 80 องศาเซลเซียสและไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำอีก ถุงพลาสติก ควรเลือกซื้อที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ใช้ให้ถูกชนิด และไม่ควรนำไปใส่อาหารเพื่ออุ่นให้ร้อนหรือปรุงสุกด้วยไมโครเวฟ แก้ว เลือกที่มีเนื้อเรียบ ไม่มีจุดนูนหรือโพรงอากาศภายใน ไม่มีรอยร้าว เคาะแล้วมีเสียงดัง เซรามิก เลือกภาชนะที่มีความเงา มัน ตกแต่งสีและลายใต้เคลือบ กระดาษ ไม่ควรนำกระดาษที่ไม่ได้ผลิตมาเพื่อใช้กับอาหารมาสัมผัสอาหาร เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษถ่ายเอกสาร ดังนั้น การเลือกใช้วัสดุสัมผัสอาหารให้ปลอดภัยจำเป็นต้องพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกซื้อ โดยเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน ใช้งานให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนดูแลรักษาให้ถูกวิธี ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากวัสดุสัมผัสอาหารได้ Sources - วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ Sources - 62, 196 (ก.ย. 2557) 28-31 ISSN - 0857-7617 ER -