ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารฮาลาล (Introduction to halal food) / วิวัฒน์ หวังเจริญ

By: วิวัฒน์ หวังเจริญMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD58M09 | อาหารฮาลาล | มาตรฐานฮาลาล | อาหารฮาลาล -- เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน In: อาหาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2557) 33-37Summary: ฮาลาล (Halal) เป็นคำในภาษาอาหรับ แปลว่าถูกต้องตามกฎ อนุญาต หรืออนุมัติ คำว่าฮาลาลไม่ได้ใช้เฉพาะกับอาหารเท่านั้น แต่หมายถึง ทุกกิจการของมุสลิมหรือผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการประพฤติ ปฏิบัติ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากศาสนาให้ทำได้โดยไม่เป็นโทษ บทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับอาหารแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน การเชือดหรือฆ่าสัตว์ และการชำระล้างให้สะอาด การขอรับรองฮาลาลและขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลในประเทศไทย อยู่ภายใต้ระเบียบ 2 ฉบับ คือ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินการตรวจรับรองสถานประกอบการ การตรวจผลิตภัณฑ์และค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2522 และระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล พ.ศ. 2552 กำกับดูแลโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งการขอรับรอง ฮาลาลและการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล สามารถทำได้ 4 กรณี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค การเชือดสัตว์ การบริการอาหารและเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์ฮาลาล และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วัตถุดิบ ส่วนผสมและหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลนำเข้าจากต่างประเทศ
No physical items for this record

YJ2016 M05

ฮาลาล (Halal) เป็นคำในภาษาอาหรับ แปลว่าถูกต้องตามกฎ อนุญาต หรืออนุมัติ คำว่าฮาลาลไม่ได้ใช้เฉพาะกับอาหารเท่านั้น แต่หมายถึง ทุกกิจการของมุสลิมหรือผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการประพฤติ ปฏิบัติ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากศาสนาให้ทำได้โดยไม่เป็นโทษ บทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับอาหารแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน การเชือดหรือฆ่าสัตว์ และการชำระล้างให้สะอาด การขอรับรองฮาลาลและขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลในประเทศไทย อยู่ภายใต้ระเบียบ 2 ฉบับ คือ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินการตรวจรับรองสถานประกอบการ การตรวจผลิตภัณฑ์และค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2522 และระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล พ.ศ. 2552 กำกับดูแลโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งการขอรับรอง ฮาลาลและการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล สามารถทำได้ 4 กรณี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค การเชือดสัตว์ การบริการอาหารและเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์ฮาลาล และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วัตถุดิบ ส่วนผสมและหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลนำเข้าจากต่างประเทศ

There are no comments on this title.

to post a comment.