Food Fiber Role on Your Health / โศรดา วัลภา กุลภัส วชิรศิริ และดำรงชัย สิทธิสำอางค์

By: โศรดา วัลภาContributor(s): กุลภัส วชิรศิริ | ดำรงชัย สิทธิสำอางค์Material type: ArticleArticleSubject(s): ใยอาหาร -- ประเภท | ใยอาหาร -- แง่โภชนาการ In: INNOLAB (Jul.-Aug. 2553) 32-35Summary: ใยอาหาร (Food fiber) เป็นส่วนของพืชที่เมื่อรับประทานแล้วสามารถทนทานต่อการย่อยของเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารได้ แบ่งตามความสามารถในการละลายน้ำได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ เซลลูโลสที่พบมากในส่วนของรำของธัญพืชต่างๆ ทั้งข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น รวมทั้งพืชตระกูลถั่ว พืชหัว เปลือกหุ้มเมล็ดพืช และแอปเปิ้ล ใยอาหารกลุ่มนี้ไม่ละลายน้ำแต่อุ้มน้ำ ทำให้เพิ่มปริมาตรอาหารจึงสร้างความรู้สึกอิ่มได้ดี 2) ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ กลุ่มเพคตินที่พบในผลไม้ กัมที่พบในข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว สาหร่าย และโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นใยอาหารที่ละลายน้ำทำให้เกิดความหนืดหรือลักษณะเจลในระบบทางเดินอาหาร บทบาทของใยอาหารมีผลต่อระบบร่างกายทั้งต่อระบบทางเดินอาหาร การลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นสารพรีไบโอติก เป็นต้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับใยอาหารทั้ง 2 ประเภท ปริมาณการบริโภคใยอาหารสำหรับคนไทยคือประมาณ 25-30 กรัมต่อวันSummary: Food fiber as part of the plant when eaten can resistant to digestion by enzymes in the digestive tract. Divided according to the solubility in water was 2 types 1) Insoluble food fiber such as cellulose that is found in the bran of various grains such as rice, wheat, barley etc., including legumes, tuber crops, seed coat and apple. This food fiber is insoluble but absorbs water, increase the volume of food creating a feeling of fullness as well. 2) Soluble food fiber such as groups of pectin are found in fruit, gums are found in oats, barley, beans, alga and oligosaccharide is soluble food fiber, cause viscous or gel in the digestive tract. Roles of food fiber can affect body system, both in gastrointestinal, reducing cholesterol levels in the body, as prebiotics etc. The bodies need to get two types of fiber. Amount of food fiber that Thai people must take is 25 - 30 gram per day.
No physical items for this record

ใยอาหาร (Food fiber) เป็นส่วนของพืชที่เมื่อรับประทานแล้วสามารถทนทานต่อการย่อยของเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารได้ แบ่งตามความสามารถในการละลายน้ำได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ เซลลูโลสที่พบมากในส่วนของรำของธัญพืชต่างๆ ทั้งข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น รวมทั้งพืชตระกูลถั่ว พืชหัว เปลือกหุ้มเมล็ดพืช และแอปเปิ้ล ใยอาหารกลุ่มนี้ไม่ละลายน้ำแต่อุ้มน้ำ ทำให้เพิ่มปริมาตรอาหารจึงสร้างความรู้สึกอิ่มได้ดี 2) ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ กลุ่มเพคตินที่พบในผลไม้ กัมที่พบในข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว สาหร่าย และโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นใยอาหารที่ละลายน้ำทำให้เกิดความหนืดหรือลักษณะเจลในระบบทางเดินอาหาร บทบาทของใยอาหารมีผลต่อระบบร่างกายทั้งต่อระบบทางเดินอาหาร การลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย เป็นสารพรีไบโอติก เป็นต้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับใยอาหารทั้ง 2 ประเภท ปริมาณการบริโภคใยอาหารสำหรับคนไทยคือประมาณ 25-30 กรัมต่อวัน

Food fiber as part of the plant when eaten can resistant to digestion by enzymes in the digestive tract. Divided according to the solubility in water was 2 types 1) Insoluble food fiber such as cellulose that is found in the bran of various grains such as rice, wheat, barley etc., including legumes, tuber crops, seed coat and apple. This food fiber is insoluble but absorbs water, increase the volume of food creating a feeling of fullness as well. 2) Soluble food fiber such as groups of pectin are found in fruit, gums are found in oats, barley, beans, alga and oligosaccharide is soluble food fiber, cause viscous or gel in the digestive tract. Roles of food fiber can affect body system, both in gastrointestinal, reducing cholesterol levels in the body, as prebiotics etc. The bodies need to get two types of fiber. Amount of food fiber that Thai people must take is 25 - 30 gram per day.

There are no comments on this title.

to post a comment.