อันตรายจากกระดาษสัมผัสอาหารที่ทำจากเยื่อกระดาษรีไซเคิล / ก่อพงศ์ หงษ์ศรี.

By: ก่อพงศ์ หงษ์ศรีMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD66M09 | กระดาษ | บรรจุภัณฑ์กระดาษ | บรรจุภัณฑ์อาหาร | ภาชนะบรรจุอาหาร | หมึกพิมพ์ | ตะกั่ว | ปรอท | แคดเมียม | บิสฟีนอลเอ In: วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 72, 222 (พ.ค. 2566) 25-26 Summary: กระดาษสัมผัสอาหาร หมายถึง กระดาษกระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษ ที่นำมาใช้ห่อหุ้ม บรรจุ หรือรองรับอาหารในรูปของ จาน ชาม ถาด ถ้วย กล่อง ถุง ที่ทำจากกระดาษหรือกระดาษแข็งรวมถึงภาชนะทำจากเยื่อกระดาษที่ขึ้นรูปเป็นภาชนะแล้วนำไปทำให้แห้ง (Molded pulp article) ซึ่งกระดาษสัมผัสอาหารที่ปลอดภัยควรเป็นกระดาษที่ผลิตมาจาก “เยื่อไม้บริสุุทธิ์” และผ่่านกระบวนการผลิตที่่เข้มงวดในเรื่่องความสะอาด ป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมี ไม่ใช้สารฟอกขาวหรือสารเรืองแสง เป็นไปตามมาตรฐาน Food Contact อันตรายจากกระดาษสัมผัสอาหารส่วนใหญ่มาจากการนำกระดาษที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลกลับ มาใช้ใหม่ ซึ่งอาจมีการปนเปือนของหมึกพิมพ์ในกระดาษ และเมื่อสัมผัสกับอาหารก็จะเกิดการเคลื่่อนย้ายสารจากหมึกพิมพ์ (migration) ออกมาปนเปื้อนในอาหาร สารอันตรายที่อาจตกค้างในกระดาษสัมผัสอาหารสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสารอนินทรีย์ ได้แก่ กลุ่มโลหะที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่่ว ปรอท แคดเมียม และกลุ่มสารอินทรีย์ เช่น บีสฟีนอล เอ (bisphenol A) เบนโซฟีโนน (benzophenone) สารกลุ่มทาเลต สีย้อมอะโซ (azo dye) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เพื่อให้กระดาษที่ใช้สัมผัสอาหารมีความปลอดภัย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงกำหนดเกณฑ์กำหนดของสีย้อมอะโซในกระดาษสัมผัสอาหารตามมาตรฐาน มอก. กระดาษสัมผัสอาหาร (มอก. 2948) คือ“ต้องไม่พบ” และกำหนดวิธีทดสอบไว้ให้เป็นไป ตาม ISO 14362-1
No physical items for this record

YJ2023 M09

กระดาษสัมผัสอาหาร หมายถึง กระดาษกระดาษแข็ง และภาชนะกระดาษ ที่นำมาใช้ห่อหุ้ม บรรจุ หรือรองรับอาหารในรูปของ จาน ชาม ถาด ถ้วย กล่อง ถุง ที่ทำจากกระดาษหรือกระดาษแข็งรวมถึงภาชนะทำจากเยื่อกระดาษที่ขึ้นรูปเป็นภาชนะแล้วนำไปทำให้แห้ง (Molded pulp article) ซึ่งกระดาษสัมผัสอาหารที่ปลอดภัยควรเป็นกระดาษที่ผลิตมาจาก “เยื่อไม้บริสุุทธิ์” และผ่่านกระบวนการผลิตที่่เข้มงวดในเรื่่องความสะอาด ป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมี ไม่ใช้สารฟอกขาวหรือสารเรืองแสง เป็นไปตามมาตรฐาน Food Contact อันตรายจากกระดาษสัมผัสอาหารส่วนใหญ่มาจากการนำกระดาษที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลกลับ มาใช้ใหม่ ซึ่งอาจมีการปนเปือนของหมึกพิมพ์ในกระดาษ และเมื่อสัมผัสกับอาหารก็จะเกิดการเคลื่่อนย้ายสารจากหมึกพิมพ์ (migration) ออกมาปนเปื้อนในอาหาร สารอันตรายที่อาจตกค้างในกระดาษสัมผัสอาหารสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสารอนินทรีย์ ได้แก่ กลุ่มโลหะที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่่ว ปรอท แคดเมียม และกลุ่มสารอินทรีย์ เช่น บีสฟีนอล เอ (bisphenol A) เบนโซฟีโนน (benzophenone) สารกลุ่มทาเลต สีย้อมอะโซ (azo dye) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เพื่อให้กระดาษที่ใช้สัมผัสอาหารมีความปลอดภัย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงกำหนดเกณฑ์กำหนดของสีย้อมอะโซในกระดาษสัมผัสอาหารตามมาตรฐาน มอก. กระดาษสัมผัสอาหาร (มอก. 2948) คือ“ต้องไม่พบ” และกำหนดวิธีทดสอบไว้ให้เป็นไป ตาม ISO 14362-1

There are no comments on this title.

to post a comment.