การศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประเทศไทยในการปฏิบัติตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร / อรสุรางค์ ธีระวัฒน์ และมยุรี ดิษย์เมธาโรจน์.

By: อรสุรางค์ ธีระวัฒน์Contributor(s): มยุรี ดิษย์เมธาโรจน์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD64M04 | อาหาร | อาหารเสริม | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร In: วารสารอาหารและยา 27, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2563) 87-100Summary: อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อรองรับการมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกันซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กับร่างความตกลงอาเซียน และศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการผลิตผลิตเสริมอาหารจาการปรับกฎระเบียบของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับของอาเซียน การศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ดำเนินการโดยวิธีสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทยกับ (Draft) ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements (as of 16 May 2017) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเปรียบเทียบข้อกำหนดโดยไม่ตีความ และการศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการดำเนินการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Technique for Order Preference by Similarity to Ideal Solution มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตผลิต 88 ราย ผลการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์พบว่า มีข้อกำหนดที่สอดคล้องกัน 5 เรื่อง ข้อกำหนดที่แตกต่างกัน 6 เรื่อง และข้อกำหนดที่ยังไม่มีในประเทศไทย 1 เรื่อง ได้แก่ การศึกษาความคงสภาพและอายุการเก็บรักษาผลการศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการมีความพร้อมปานกลางเรื่องข้อกำหนดมาตรฐานจุลินทรีย์ (Ci+=0.5) และมีความพร้อมน้อยที่สุดในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องการศึกษาความคงสภาพ (Ci+=0.47) แม้ว่าจะให้ระยะเวลาปรับตัว 5 ปี หากไทยต้องให้การรับรองความตกลงอาเซียนทั้งฉบับ จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศคือ การเจรจาให้ประเทศสมาชิก ยอมรับการนำหลักเกณฑ์ตามความตกลงอาเซียนที่มีข้อขัดข้องหลายประการและยังไม่สามารถปรับตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้มากำหนดเป็นมาตรฐานสมัครใจ พร้อมกับมีระบบหนังสือรับรองเพื่อการส่งออกโดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายภายในประเทศจะปฏิบัติตามหลัดเกณฑ์เดิมหรือหลักเกณฑ์ใหม่ตามความตกลงอาเซียนก็ได้ แต่หากมีการปรับสถานะของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรจากอาหารไปอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสมุนไพร พ.ศ.2562 ควรประเมินในประเด็นที่แตกต่าง.
No physical items for this record

YJ2021 M06

อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อรองรับการมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกันซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กับร่างความตกลงอาเซียน และศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการผลิตผลิตเสริมอาหารจาการปรับกฎระเบียบของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับของอาเซียน การศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ดำเนินการโดยวิธีสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทยกับ (Draft) ASEAN Agreement on Regulatory Framework for Health Supplements (as of 16 May 2017) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเปรียบเทียบข้อกำหนดโดยไม่ตีความ และการศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการดำเนินการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Technique for Order Preference by Similarity to Ideal Solution มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตผลิต 88 ราย ผลการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์พบว่า มีข้อกำหนดที่สอดคล้องกัน 5 เรื่อง ข้อกำหนดที่แตกต่างกัน 6 เรื่อง และข้อกำหนดที่ยังไม่มีในประเทศไทย 1 เรื่อง ได้แก่ การศึกษาความคงสภาพและอายุการเก็บรักษาผลการศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการมีความพร้อมปานกลางเรื่องข้อกำหนดมาตรฐานจุลินทรีย์ (Ci+=0.5) และมีความพร้อมน้อยที่สุดในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องการศึกษาความคงสภาพ (Ci+=0.47) แม้ว่าจะให้ระยะเวลาปรับตัว 5 ปี หากไทยต้องให้การรับรองความตกลงอาเซียนทั้งฉบับ จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศคือ การเจรจาให้ประเทศสมาชิก ยอมรับการนำหลักเกณฑ์ตามความตกลงอาเซียนที่มีข้อขัดข้องหลายประการและยังไม่สามารถปรับตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้มากำหนดเป็นมาตรฐานสมัครใจ พร้อมกับมีระบบหนังสือรับรองเพื่อการส่งออกโดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายภายในประเทศจะปฏิบัติตามหลัดเกณฑ์เดิมหรือหลักเกณฑ์ใหม่ตามความตกลงอาเซียนก็ได้ แต่หากมีการปรับสถานะของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรจากอาหารไปอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสมุนไพร พ.ศ.2562 ควรประเมินในประเด็นที่แตกต่าง.

There are no comments on this title.

to post a comment.