การพัฒนาความสามารถห้องปฏิบัติการและสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ของประเทศไทย / วิชาดา จงมีวาสนา และคนอื่นๆ.

By: วิชาดา จงมีวาสนาContributor(s): ทองสุข ปายะนันทน์ | วีรวุฒิ วิทยานันท์ | รัติยากร ศรีโคตร | จิตผกา สันทัดรบMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD64M04 | สารเคมี | ผัก | ผลไม้ | สารเคมีทางการเกษตร | สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม | ยากำจัดศัตรูพืช In: วารสารอาหารและยา 27, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2563) 73-86Summary: การตรวจเฝ้าระวังการตกค้างสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินสถานการณ์จัดการความเสี่ยงผลกระทบต่อผู้บริโภคซึ่งขอบข่ายชนิดสารที่ตรวจวิเคราะห์ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโดยตรง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงร่วมกันวางแผนพัฒนาขีดความสามารถห้องปฏิบัติการจากขอบข่ายการวิเคราะห์เดิมที่ครอบคลุมสารเพียง 62 ชนิด ให้เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2558-2561 โดยวางเป้าหมายขอบข่ายชนิดสารที่จำเป็นในกลุ่มสารที่มีรายงานตรวจพบการตกค้างและชนิดสารมีค่ากำหนดตามกฎหมาย จัดเป็นกลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานและในระดับกลาง โดยในปี 2559 สามารถพัฒนาวิธีวิเคราะห์ multi-residue methods ในการตรวจกลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานได้ 132 ชนิด โดยใช้เครื่องมือ GC-MS/MS และ HPLC และในปี 2561 สามารถตรวจวิเคราะห์กลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับกลาง 250 ชนิด โดยใช้เครื่องมือ GC-MS/MS และ LC-MS/MS ซึ่งได้นำวิธีที่พัฒนามาใช้ในสำรวจผักและผลไม้สดกลุ่มเสี่ยงพบว่า มีความสามารถของการตรวจคัดกรองตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานเพิ่มขึ้นขอบข่ายของการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความสามารถการคัดกรองตัวอย่างโดยใช้ขอบข่ายการวิเคราะห์สาร 132 ชนิดจะพบว่ามีตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 85.6 ของตัวอย่างที่ตรวจในขอบข่ายสาร 250 ชนิด จากข้อมูลทำให้เห็นว่าการจัดกลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานและในระดับกลางจะเป็นแนวทางในการพิจารณาขอบข่ายการวิเคราะห์ที่มีความคุ้มค่า สมประโยชน์สำหรับโครงการสำรวจหรือเฝ้าระวังเพื่อนำผลวิเคราะห์ไปใช้งานนอกจากนั้นได้ร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์บูรณาการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ปี 2559 สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการในส่วนภูมิภาคเพื่อรองรับการตรวจเฝ้าระวังผักและผลไม้ในระดับพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น โดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการประจำปี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ ติดตามประเมินผลด้วยการจัดแผนทดสอบความชำนาญ และส่งเสริมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เป้าหมายทั้ง 4 ภูมิภาค ให้มีการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าหมายให้เครือข่ายสามารถบริการตรวจวิเคราะห์กลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบได้ในปี 2563.
No physical items for this record

YJ2021 M06

การตรวจเฝ้าระวังการตกค้างสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินสถานการณ์จัดการความเสี่ยงผลกระทบต่อผู้บริโภคซึ่งขอบข่ายชนิดสารที่ตรวจวิเคราะห์ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโดยตรง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงร่วมกันวางแผนพัฒนาขีดความสามารถห้องปฏิบัติการจากขอบข่ายการวิเคราะห์เดิมที่ครอบคลุมสารเพียง 62 ชนิด ให้เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2558-2561 โดยวางเป้าหมายขอบข่ายชนิดสารที่จำเป็นในกลุ่มสารที่มีรายงานตรวจพบการตกค้างและชนิดสารมีค่ากำหนดตามกฎหมาย จัดเป็นกลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานและในระดับกลาง โดยในปี 2559 สามารถพัฒนาวิธีวิเคราะห์ multi-residue methods ในการตรวจกลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานได้ 132 ชนิด โดยใช้เครื่องมือ GC-MS/MS และ HPLC และในปี 2561 สามารถตรวจวิเคราะห์กลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับกลาง 250 ชนิด โดยใช้เครื่องมือ GC-MS/MS และ LC-MS/MS ซึ่งได้นำวิธีที่พัฒนามาใช้ในสำรวจผักและผลไม้สดกลุ่มเสี่ยงพบว่า มีความสามารถของการตรวจคัดกรองตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานเพิ่มขึ้นขอบข่ายของการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความสามารถการคัดกรองตัวอย่างโดยใช้ขอบข่ายการวิเคราะห์สาร 132 ชนิดจะพบว่ามีตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 85.6 ของตัวอย่างที่ตรวจในขอบข่ายสาร 250 ชนิด จากข้อมูลทำให้เห็นว่าการจัดกลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานและในระดับกลางจะเป็นแนวทางในการพิจารณาขอบข่ายการวิเคราะห์ที่มีความคุ้มค่า สมประโยชน์สำหรับโครงการสำรวจหรือเฝ้าระวังเพื่อนำผลวิเคราะห์ไปใช้งานนอกจากนั้นได้ร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์บูรณาการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ปี 2559 สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการในส่วนภูมิภาคเพื่อรองรับการตรวจเฝ้าระวังผักและผลไม้ในระดับพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น โดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการประจำปี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ ติดตามประเมินผลด้วยการจัดแผนทดสอบความชำนาญ และส่งเสริมศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เป้าหมายทั้ง 4 ภูมิภาค ให้มีการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าหมายให้เครือข่ายสามารถบริการตรวจวิเคราะห์กลุ่มสารเฝ้าระวังในระดับพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบได้ในปี 2563.

There are no comments on this title.

to post a comment.