น้ำตาลและสารให้ความหวานกับแนวทางการบริโภคในยุคปัจจุบัน /

พิชญานิน เพชรล้อมทอง

น้ำตาลและสารให้ความหวานกับแนวทางการบริโภคในยุคปัจจุบัน / พิชญานิน เพชรล้อมทองและ ปุณฑริกา รัตนตรัยวงศ์

YJ2015 M04

สารให้ความหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามคุณค่าทางโภชนาการ คือ สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยสารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้แก่ น้ำตาลซูโครส น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลฟรุกโตส มีรสหวานที่ผู้บริโภคทั่วไปคุ้นชินและยอมรับ แต่หากบริโภคมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคฟันผุ โรคอ้วน โรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ สำหรับน้ำตาลแอลกอฮอล์ให้พลังงานแก่ร่างกายต่ำ ไม่ทำให้เกิดฟันผุ ไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลินในการย่อย แต่ไม่ควรบริโภคเกิน 20-40 กรัม/วัน เนื่องจากอาจมีผลทำให้เกิดการระบายท้อง(laxativeeffect) ส่วนสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่แอสพาร์แทม(aspartame) แซคคาริน(saccharin) อะซีซัลเฟมโพแทสเซียม(acesulfame potassium) ซูคราโลส(sucralose) นีโอแทม(neotame) สตีเวีย(stevia) สารให้ความหวานกลุ่มนี้ให้ความหวานมาก ไม่ให้พลังงาน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทั้งนี้ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรเกินปริมาณสูงสุดต่อวันที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เกิดอันตรายใดๆ(ADI) และไม่ควรใช้แอสพาร์แทม(aspartame) กับผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย(phenylketonunia) ดังนั้นอาหารที่ใช้แอสพาร์แทมจึงจำเป็นต้องมีคำเตือนเรื่องฟีนิลคีโตนูเรียให้ผู้บริโภคมองเห็นได้ชัดเจน.


SPV57M12
FOOD58M01


สารให้ความหวาน--แง่อนามัย.
สารให้ความหวาน--แง่โภชนาการ.

วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 32, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2557) 77-86 0857-0108