การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอาลัวแป้งข้าวหอมนิลเสริมสารสกัดน้ำอัญชัน

วรารัตน์ สานนท์.

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอาลัวแป้งข้าวหอมนิลเสริมสารสกัดน้ำอัญชัน [Electronic resource] / วรารัตน์ สานนท์ และดวงกมล แสงธีรกิจ.

YJ2021 M07

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแป้งข้าวหอมนิลและสารสกัดน้ำอัญชันที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพ เคมีและทางประสาทสัมผัสต่อขนมอาลัว ผลการทดลองพบว่าการเสริมสารสกัดน้ำอัญชันจากร้อยละ 3 ถึง 7มีค่าความเป็นสีน้้าเงิน (b*) และสารประกอบฟีนอลิกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการเสริมสารสกัดน้ำอัญชันร้อยละ 7 มีค่าของสีน้ำเงินสูงที่สุด เท่ากับ -6.45±0.62 และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุดเท่ากับ 65.35 ±0.63 mg GAE/g ส่วนประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณแอนโธไซยานิน ค่าความแข็งและค่าการเกาะตัวกันของขนมอาลัวมากขึ้นตามปริมาณการเติมน้ำอัญชันที่เพิ่มขึ้น จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าการเสริมแป้งข้าวหอมที่ร้อยละ 10และปริมาณสารสกัดน้้าอัญชันร้อยละ 7มีค่าคะแนนความชอบสูงสุด เมื่อนำผลิตภัณฑ์ไปส้ารวจการยอมรับของผู้บริโภค พบว่ามีค่าคะแนนความชอบด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมที่คะแนน 7.92 7.24 7.44 7.58 และ 7.68 ตามลำดับ


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --วิจัย.


FOOD64M06


ขนม.
ผลิตภัณฑ์ทดแทน.
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ.
แป้งทำขนม.
แป้งข้าวเจ้า.
แป้งข้าวเจ้า--การใช้ปรุงอาหาร.
แอนโทไซยานินส์.
ดอกไม้--การใช้ปรุงอาหาร.
สารต้านอนุมูลอิสระ.
อาหาร--การประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัส.

วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 15, 3 (ก.ค.- ธ.ค. 2563) 37-51