เห็ดตีนแรด Macrocybe crassa เห็ดตัวใหม่ที่น่าส่งเสริมสู่เชิงพาณิชย์ / ธนรักษ์ อินยอด, สุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์ และอัจฉรา พยัพพานนท์

By: ธนรักษ์ อินยอดContributor(s): สุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์ | อัจฉรา พยัพพานนท์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD57M01 | เห็ดตีนแรด | เห็ดตีนแรด -- การเพาะ In: วารสาร อพวช 12, 133 (ก.ค. 2556) 18-21Summary: เห็ดตีนแรด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tricholoma crassum (Berk) sacc. ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Macrocybe crassa เป็นเห็ดรับประทานได้ มีรสชาติดี ดอกมีขนาดใหญ่ สีขาวหรือสีขาวปนเทา ก้านดอกมีขนาดใหญ่ เป็นกระเปาะ ผิวหยาบเล็กน้อย เนื้อกรุบกรอบไม่เหนียวมีคุณสมบัติไม่ย่อยตัวเอง (autolysis) พบได้ทุกภาคของประเทศไทย มีรายงานการศึกษาเห็ดกลุ่ม Tricholoma ที่ใช้เป็นสมุนไพร อาหารเสริมและยา มีรายงานว่าดอกเห็ดตีนแรดมีสารซีลิเนียม (Se) อยู่ระหว่าง 35-180 ไมโครกรัมต่อดอกเห็ด 1 กิโลกรัม ซึ่งซีลิเนียมมีคุณสมบัติป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันเห็ดตีนแรดได้มีการส่งเสริมให้เป็นเห็ดเศรษฐกิจ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมวิชาการเกษตรภายใต้แผนการวิจัยการใช้ประโยชน์จากเห็ดตีนแรด ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดจนประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเห็ดโดยพบว่าเห็ดตีนแรดสายพันธุ์ DOA ซึ่งเป็นสายพันธุ์ทางการค้าที่เพาะในวัสดุที่ประกอบด้วยก้อนเชื้อเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหลวง : รำละเอียด : ข้าวโพดป่นในอัตราส่วน 80:15:5 โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุเพาะที่เหมาะสม และจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่าวัสดุเพาะสูตรนี้ให้ดอกเห็ดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนสูง 70.96 และ 31.37% ตามลำดับ และมีไขมันต่ำสุดเพียง 1.70% และพบธาตุฟอสฟอรัส (P) ในปริมาณ 860 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม หากสนใจที่จะมาศึกษาดูงานหรือต้องการข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
No physical items for this record

YJ2014 M05

เห็ดตีนแรด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tricholoma crassum (Berk) sacc. ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Macrocybe crassa เป็นเห็ดรับประทานได้ มีรสชาติดี ดอกมีขนาดใหญ่ สีขาวหรือสีขาวปนเทา ก้านดอกมีขนาดใหญ่ เป็นกระเปาะ ผิวหยาบเล็กน้อย เนื้อกรุบกรอบไม่เหนียวมีคุณสมบัติไม่ย่อยตัวเอง (autolysis) พบได้ทุกภาคของประเทศไทย มีรายงานการศึกษาเห็ดกลุ่ม Tricholoma ที่ใช้เป็นสมุนไพร อาหารเสริมและยา มีรายงานว่าดอกเห็ดตีนแรดมีสารซีลิเนียม (Se) อยู่ระหว่าง 35-180 ไมโครกรัมต่อดอกเห็ด 1 กิโลกรัม ซึ่งซีลิเนียมมีคุณสมบัติป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันเห็ดตีนแรดได้มีการส่งเสริมให้เป็นเห็ดเศรษฐกิจ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมวิชาการเกษตรภายใต้แผนการวิจัยการใช้ประโยชน์จากเห็ดตีนแรด ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดจนประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเห็ดโดยพบว่าเห็ดตีนแรดสายพันธุ์ DOA ซึ่งเป็นสายพันธุ์ทางการค้าที่เพาะในวัสดุที่ประกอบด้วยก้อนเชื้อเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหลวง : รำละเอียด : ข้าวโพดป่นในอัตราส่วน 80:15:5 โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุเพาะที่เหมาะสม และจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่าวัสดุเพาะสูตรนี้ให้ดอกเห็ดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนสูง 70.96 และ 31.37% ตามลำดับ และมีไขมันต่ำสุดเพียง 1.70% และพบธาตุฟอสฟอรัส (P) ในปริมาณ 860 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม หากสนใจที่จะมาศึกษาดูงานหรือต้องการข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

There are no comments on this title.

to post a comment.