เนื้อดินพอร์ซเลนสำหรับทำแบบพิมพ์ถุงมือยาง / อนุชา วรรณก้อน.

By: อนุชา วรรณก้อนContributor(s): ทีมวิจัย CGLMaterial type: ArticleArticleSubject(s): Material63M12 | ถุงมือยาง | ถุงมือยาง -- การออกแบบ | ถุงมือยาง -- วิจัย In: เซรามิกส์ 27, 50 (ก.ย.-ธ.ค. 2562) 58-61Summary: แบบพิมพ์เซรามิกสำหรับขึ้นรูปถุงมือยางโดยวิธีจุ่ม เป็นแบบพิมพ์ที่มีสมบัติเหมาะสมและมีการใช้งานทั่วไป ประเภทเซรามิกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ได้แก่ เนื้อดินประเภทพอร์ซเลน ซึ่งมีการผลิตภายในประเทศไทยไทยน้อย ผู้ผลิตถุงมือยางต้องนำเข้าแบบพิมพ์พอร์เลนจากต่างประเทศ ทำให้ทีมงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) พัฒนาเนื้อดินและเคลือบพอร์ซเลนสำหรับใช้ทำแบบพิมพ์ขึ้นรูปถุงมือยางโดยวิธีการจุ่ม โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ได้แก่ ดินขาว ดินดำ โซเดียมและโปแตสเซียมเฟล์ดสปาร์ และควอทซ์ โดยเตรียมสูตรดิน จำนวน 12 สูตรเปรียบเทียบกับสูตรอ้างอิง (Body-R) ใช้ดินขาวในช่วง 40-65 เปอร์เซ็นต์ ดินดำ 5-20 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมและโปแตสเซียมเฟล์ดสปาร์ 15-30 เปอร์เซ็นต์ และควอทซ์ 10-25 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ยังพัฒนาสูตรเนื้อดินผสมที่ใช้เนื้อดินพอร์ซเลนผสมเสร็จ Clay-A และ Clay-B อีก 3 สูตร หลังเตรียมวัตถุดิบตามสูตร ทำการบดผสมและทำเป็นน้ำดินแล้วทำการหล่อขึ้นรูป เผาช่วงอุณหภูมิ 1250-1300 องศาเซลเซียส ทดสอบสมบัติการหดตัว การตกตัว (sagging) ความหนาแน่น ความพรุนตัว การดูดซึมน้ำ ความต้านทานแรงกด พบว่าสูตรที่พัฒนาขึ้นหลังการเผาที่อุณหภูมิ 1280 องศาเซลเซียส มีสมบัติการเป็นพอร์ซเลนใกล้เคียงกับสูตรอ้างอิง มีศักยภาพที่จะนำไปขยายการผลิตเป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่มีความสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและสามารถแข่งขันได้กับแบบพิมพ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ.
No physical items for this record

YJ2020 M12

แบบพิมพ์เซรามิกสำหรับขึ้นรูปถุงมือยางโดยวิธีจุ่ม เป็นแบบพิมพ์ที่มีสมบัติเหมาะสมและมีการใช้งานทั่วไป ประเภทเซรามิกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ได้แก่ เนื้อดินประเภทพอร์ซเลน ซึ่งมีการผลิตภายในประเทศไทยไทยน้อย ผู้ผลิตถุงมือยางต้องนำเข้าแบบพิมพ์พอร์เลนจากต่างประเทศ ทำให้ทีมงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) พัฒนาเนื้อดินและเคลือบพอร์ซเลนสำหรับใช้ทำแบบพิมพ์ขึ้นรูปถุงมือยางโดยวิธีการจุ่ม โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ได้แก่ ดินขาว ดินดำ โซเดียมและโปแตสเซียมเฟล์ดสปาร์ และควอทซ์ โดยเตรียมสูตรดิน จำนวน 12 สูตรเปรียบเทียบกับสูตรอ้างอิง (Body-R) ใช้ดินขาวในช่วง 40-65 เปอร์เซ็นต์ ดินดำ 5-20 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมและโปแตสเซียมเฟล์ดสปาร์ 15-30 เปอร์เซ็นต์ และควอทซ์ 10-25 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ยังพัฒนาสูตรเนื้อดินผสมที่ใช้เนื้อดินพอร์ซเลนผสมเสร็จ Clay-A และ Clay-B อีก 3 สูตร หลังเตรียมวัตถุดิบตามสูตร ทำการบดผสมและทำเป็นน้ำดินแล้วทำการหล่อขึ้นรูป เผาช่วงอุณหภูมิ 1250-1300 องศาเซลเซียส ทดสอบสมบัติการหดตัว การตกตัว (sagging) ความหนาแน่น ความพรุนตัว การดูดซึมน้ำ ความต้านทานแรงกด พบว่าสูตรที่พัฒนาขึ้นหลังการเผาที่อุณหภูมิ 1280 องศาเซลเซียส มีสมบัติการเป็นพอร์ซเลนใกล้เคียงกับสูตรอ้างอิง มีศักยภาพที่จะนำไปขยายการผลิตเป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่มีความสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและสามารถแข่งขันได้กับแบบพิมพ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ.

There are no comments on this title.

to post a comment.