การกักเก็บเคอร์คูมินโดยการอบแห้งแบบพ่นฝอยโดยใช้ Tween 80 ร่วมกับไคโตซาน Encapsulation of curcumin by spray drying using the combination of tween 80 and chitosan [Electronic resource] / อวานี ฮามัด, สาริศา สุริยรักษ์ และ ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล.

By: อวานี ฮามัดContributor(s): สาริศา สุริยรักษ์. ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุลMaterial type: ArticleArticleSubject(s): จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ -- วิจัย | การอบแห้ง | ความหนืด | อนุมูลอิสระ | อิมัลชัน | ความชื้น | ออกซิเดชัน | แคปซูล(เภสัชกรรม) | สารลดแรงตึงผิว | CHITOSAN | CURCUMINOnline resources: Click here to access online In: วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม 15, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2563) 96-109Summary: ในงานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ Tween 80 ร่วมกับไคโตซาน (อัตราส่วน 1/0, 1/1, 1/2, 1/3 และ 0/1 %w/w) ในการกักเก็บสารเคอร์คูมินในรูปไมโครแคปซูลโดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย ในการทดลองวิเคราะห์ค่าความหนืด ปริมาณของแข็งทั้งหมดของสารอิมัลชันที่ป้อนเข้า ปริมาณสารที่ได้สุทธิจากกระบวนการ และสมบัติทางเคมีกายภาพ (ค่ากิจกรรมของน้ำ ความชื้น ค่าการละลาย สี ความเข้มข้นของเคอร์คูมิน ประสิทธิภาพในการกักเก็บ และรูปถ่ายโครงสร้างของผงไมโครแคปซูล) รวมถึงค่าการต้านการเกิดออกซิเดชัน (DPPH และ FRAP) จากการทดลองพบว่าค่าความหนืดของสารอิมัลชันเคอร์คูมินที่ป้อนเข้าเพิ่มขึ้น(43.30-78.65 cP) เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซาน การใช้ Tween 80 ร่วมกับไคโตซานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บเคอร์คูมินในไมโครแคปซูลได้แต่การเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซานกลับพบว่าลดปริมาณสารที่ได้สุทธิจากกระบวนการ (ร้อยละ 41.17-33.02) แต่ไม่มีนัยส้าคัญ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในการที่วัดด้วยวิธี DPPH มีแน้วโน้มลดลง (ประมาณร้อยละ 15) แต่ FRAP และค่าสี (L*, a* และb*) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอีกทั้งพบรอยย่นบนผิวของไมโครแคปซูลของเคอร์คูมินเมื่อมองภายใต้กล้องจุลทรรศ์อิเล็กตรอน ในกรณีของตัวอย่างที่ไม่มีการเติม Tween 80 พบว่าตัวอย่างผงมีการเกาะกันเป็นก้อนไม่มีรูปทรงแน่นอน โดยสรุปผงไมโครแคปซูลที่ได้จากการใช้ไคโตซานร่วมกับ Tween 80 ที่ อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก มีประสิทธิภาพในการกักเก็บสูงที่สุด (ร้อยละ 57.48) รวมทั้งมีฤทธิ์การต้านการเกิดออกซิเดชัน ที่วัดโดยวิธี DPPH และ FRAP สูงสุด (49.82, 17.12 mM TE/gตามล้าดับ) ดังนั้นการใช้ Tween 80 ร่วมกับ ไคโตซาน เป็นสารเคลือบส่งผลเชิงบวกต่อสมบัติการกักเก็บเคอร์คูมินในไมโครแคปซูล
No physical items for this record

YJ2021 M05

ในงานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ Tween 80 ร่วมกับไคโตซาน (อัตราส่วน 1/0, 1/1, 1/2, 1/3 และ 0/1 %w/w) ในการกักเก็บสารเคอร์คูมินในรูปไมโครแคปซูลโดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย ในการทดลองวิเคราะห์ค่าความหนืด ปริมาณของแข็งทั้งหมดของสารอิมัลชันที่ป้อนเข้า ปริมาณสารที่ได้สุทธิจากกระบวนการ และสมบัติทางเคมีกายภาพ (ค่ากิจกรรมของน้ำ ความชื้น ค่าการละลาย สี ความเข้มข้นของเคอร์คูมิน ประสิทธิภาพในการกักเก็บ และรูปถ่ายโครงสร้างของผงไมโครแคปซูล) รวมถึงค่าการต้านการเกิดออกซิเดชัน (DPPH และ FRAP) จากการทดลองพบว่าค่าความหนืดของสารอิมัลชันเคอร์คูมินที่ป้อนเข้าเพิ่มขึ้น(43.30-78.65 cP) เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซาน การใช้ Tween 80 ร่วมกับไคโตซานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บเคอร์คูมินในไมโครแคปซูลได้แต่การเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซานกลับพบว่าลดปริมาณสารที่ได้สุทธิจากกระบวนการ (ร้อยละ 41.17-33.02) แต่ไม่มีนัยส้าคัญ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในการที่วัดด้วยวิธี DPPH มีแน้วโน้มลดลง (ประมาณร้อยละ 15) แต่ FRAP และค่าสี (L*, a* และb*) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอีกทั้งพบรอยย่นบนผิวของไมโครแคปซูลของเคอร์คูมินเมื่อมองภายใต้กล้องจุลทรรศ์อิเล็กตรอน ในกรณีของตัวอย่างที่ไม่มีการเติม Tween 80 พบว่าตัวอย่างผงมีการเกาะกันเป็นก้อนไม่มีรูปทรงแน่นอน โดยสรุปผงไมโครแคปซูลที่ได้จากการใช้ไคโตซานร่วมกับ Tween 80 ที่ อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก มีประสิทธิภาพในการกักเก็บสูงที่สุด (ร้อยละ 57.48) รวมทั้งมีฤทธิ์การต้านการเกิดออกซิเดชัน ที่วัดโดยวิธี DPPH และ FRAP สูงสุด (49.82, 17.12 mM TE/gตามล้าดับ) ดังนั้นการใช้ Tween 80 ร่วมกับ ไคโตซาน เป็นสารเคลือบส่งผลเชิงบวกต่อสมบัติการกักเก็บเคอร์คูมินในไมโครแคปซูล

There are no comments on this title.

to post a comment.