ความเป็นไปได้ในการใช้อาหารที่มีสารโพลีฟีนอลสูงเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร The possible uses of polyphenols-rich diets in postprandial glycemic control [Electronic resource] / ปิยวรรณ วงศ์วสุ.

By: ปิยวรรณ วงศ์วสุMaterial type: ArticleArticleSubject(s): มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ -- วิจัย | น้ำตาลในเลือด | คาร์โบไฮเดรต | ผู้ป่วยเบาหวาน | โพลีฟีนอล | กลูโคส | POLYPHENOLS | GLUCOSEOnline resources: Click here to access online In: วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม 15, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563) 1-14Summary: สารโพลีฟีนอลในพืชที่ใช้เป็นอาหาร ถูกพบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน รวมไปถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารด้วยกลไกการยับยั้งการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรต โดยมีฤทธิ์คล้ายคลึงกับยาอคาร์โบสที่ถูกใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำประโยชน์ดังกล่าวไปใช้ต่อยอดในอนาคตทั้งด้านการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงการนำมาใช้เป็นอาหารฟังก์ ชั่นที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายและสามารถบริโภคได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ ที่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับสารโพลีฟีนอลต่อคุณสมบัติในการยับยั้งการย่อยและดูดซึมกลูโคส ทั้งกลไกที่เป็นไปได้ การศึกษาในหลอดทดลอง และการศึกษาในมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของการได้รับสารโพลีฟีนอลจากอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า มีสารสกัดโพลีฟีนอลจากอาหารหลายชนิดที่แสดงผลการยับยั้งการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในหลอดทดลองได้ แต่ผลการศึกษาในมนุษย์กลับมีความขัดแย้งกันและยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและทำวิจัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นของชนิดอาหาร รูปแบบที่ได้รับ และปริมาณที่ท้าให้เกิดผลดังกล่าว เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์จากสารโพลีฟีนอลในอาหารต่อไป
No physical items for this record

YJ2021 M05

สารโพลีฟีนอลในพืชที่ใช้เป็นอาหาร ถูกพบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน รวมไปถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารด้วยกลไกการยับยั้งการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรต โดยมีฤทธิ์คล้ายคลึงกับยาอคาร์โบสที่ถูกใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำประโยชน์ดังกล่าวไปใช้ต่อยอดในอนาคตทั้งด้านการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงการนำมาใช้เป็นอาหารฟังก์
ชั่นที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายและสามารถบริโภคได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ ที่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับสารโพลีฟีนอลต่อคุณสมบัติในการยับยั้งการย่อยและดูดซึมกลูโคส ทั้งกลไกที่เป็นไปได้ การศึกษาในหลอดทดลอง และการศึกษาในมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของการได้รับสารโพลีฟีนอลจากอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า มีสารสกัดโพลีฟีนอลจากอาหารหลายชนิดที่แสดงผลการยับยั้งการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในหลอดทดลองได้ แต่ผลการศึกษาในมนุษย์กลับมีความขัดแย้งกันและยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและทำวิจัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นของชนิดอาหาร รูปแบบที่ได้รับ และปริมาณที่ท้าให้เกิดผลดังกล่าว เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์จากสารโพลีฟีนอลในอาหารต่อไป

There are no comments on this title.

to post a comment.