การประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดที่แช่ในสารสกัดใบเตย Evaluation of the biological activities of sung yod germinated brown rice extract soaking in pandanus leaf extract [Electronic resource] / ชุติมา แก้วพิบูลย์ และณวงศ์ บุนนาค.

By: ชุติมา แก้วพิบูลย์Contributor(s): ณวงศ์ บุนนาคMaterial type: ArticleArticleSubject(s): มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง คณะวิทยาศาสตร์ -- วิจัย | มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา คณะวิทยาศาสตร์ -- วิจัย | ข้าวกล้อง | ข้าว -- การตรวจวิเคราะห์ | ข้าว -- การวิเคราะห์ | สารต้านอนุมูลอิสระ | สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืช | ฟีนอลิกOnline resources: Click here to access online In: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28, 11 (พ.ย. 2563) 1978-1985Summary: ปัจจุบันมีการบริโภคข้าวกล้องงอกเป็นที่นิยมของอาหารสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดที่ผ่านการแช่ในสารสกัดใบเตย ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และวิธี ABTS ฤทธิ์ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ไทโรซิเนสและทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง (HaCaT) ด้วยวิธี MTTผลการทดลองพบว่า สารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดที่แช่ในสารสกัดใบเตยมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม 134.52 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อกรัมสารสกัด เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS มีค่า EC50เท่ากับ 53.42 และ 9.921ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ ซึ่งสารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดแช่สารสกัดเตยมีประสิทธิภาพในการกําจัดอนุมูลอิสระได้มากกว่าข้าวกล้องงอกสังข์หยดแช่น้ํากลั่นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนี้สารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดแสดงฤทธิ์ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ไทโรซิเนส มีค่า IC50 เท่ากับ 3.14 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ผิวหนังพบว่ามีค่า IC50>400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความน่าสนใจต่อการพัฒนาต่อยอดสารสกัดข้าวกล้องงอกสังหยดเป็นผลิตภัณฑ์เวชสําอางค์
No physical items for this record

YJ2021 M07

ปัจจุบันมีการบริโภคข้าวกล้องงอกเป็นที่นิยมของอาหารสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดที่ผ่านการแช่ในสารสกัดใบเตย ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และวิธี ABTS ฤทธิ์ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ไทโรซิเนสและทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง (HaCaT) ด้วยวิธี MTTผลการทดลองพบว่า สารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดที่แช่ในสารสกัดใบเตยมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม 134.52 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อกรัมสารสกัด เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS มีค่า EC50เท่ากับ 53.42 และ 9.921ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ ซึ่งสารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดแช่สารสกัดเตยมีประสิทธิภาพในการกําจัดอนุมูลอิสระได้มากกว่าข้าวกล้องงอกสังข์หยดแช่น้ํากลั่นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนี้สารสกัดข้าวกล้องงอกสังข์หยดแสดงฤทธิ์ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ไทโรซิเนส มีค่า IC50 เท่ากับ 3.14 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ผิวหนังพบว่ามีค่า IC50>400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความน่าสนใจต่อการพัฒนาต่อยอดสารสกัดข้าวกล้องงอกสังหยดเป็นผลิตภัณฑ์เวชสําอางค์

There are no comments on this title.

to post a comment.