อาหารการกิน อาหารการณ์ไกล สู่อาหารอวกาศ : Space food / ลลิตา ชูแก้ว และเจนจิรา สุขสวัสดิ์.

By: ลลิตา ชูแก้วContributor(s): เจนจิรา สุขสวัสดิ์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD65M10 | อาหาร | อาหารสำเร็จรูป | นักบินอวกาศ | นักบินอวกาศ -- โภชนาการ In: วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 70, 215 (ม.ค. 2564) 6-11 Summary: อวกาศ (Space) หมายถึง อาณาบริเวณของท้องฟ้าที่อยู่สูงเหนือพื้นโลกในระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป มีอากาศเบาบางมาก เป็นสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำหรือไร้น้ำหนัก อาหารสำหรับนักบินอวกาศแตกต่างจากอาหารที่รับประทานบนโลก นักบินอวกาศนิยมบริโภคอาหารรสเผ็ดหรือรสจัด อาหารอวกาศในยุคบุกเบิกเป็นอาหารแห้งอัดก้อนเคลือบเจลาตินที่หั่นเป็นคำให้ง่ายต่อการเคี้ยว กับอาหารเหลวที่บรรจุในหลอดอะลูมิเนียมคล้ายหลอดยาสีฟัน จากนั้น ได้พัฒนารูปแบบอาหารโดยใช้เทคโนโลยีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง รับประทานโดยการเติมน้ำร้อนในบรรจุภัณฑ์ หรือการทำแห้งและอัดเป็นก้อนพอดีคำ รับประทานโดยไม่ต้องกัดหรือหั่น และไม่ต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน รวมถึงออกแบบภาชนะบรรจุที่สามารถใช้ช้อนในการรับประทานอาหารในอวกาศได้ ทั้งนี้ อาหารอวกาศต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ มีอายุการเก็บรักษานาน คงตัวต่อสภาพแวดล้อมรอบยานอวกาศ มีความหลากหลายด้านเนื้อสัมผัสและกลิ่นรส ไม่มีชิ้นส่วนที่สามารถหลุดลอยออกไปซึ่งอาจไปอุดตันในอุปกรณ์ต่าง ๆ ของยานอวกาศ เป็นอาหารที่รับประทานได้ง่าย ใช้เวลาน้อยในการเตรียมก่อนรับประทาน มีความอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การผลิตอาหารสำหรับนักบินอวกาศต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในอาหาร คือ GMP (Good Manufacturing Practice) หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารเป็นพื้นฐาน และ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) หรือระบบการประกันคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร โดยคำนึงถึงอันตราย 3 ด้าน ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ เน้นการควบคุมตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อนักบินอวกาศ
No physical items for this record

YJ2022 M09

อวกาศ (Space) หมายถึง อาณาบริเวณของท้องฟ้าที่อยู่สูงเหนือพื้นโลกในระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป มีอากาศเบาบางมาก เป็นสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำหรือไร้น้ำหนัก อาหารสำหรับนักบินอวกาศแตกต่างจากอาหารที่รับประทานบนโลก นักบินอวกาศนิยมบริโภคอาหารรสเผ็ดหรือรสจัด อาหารอวกาศในยุคบุกเบิกเป็นอาหารแห้งอัดก้อนเคลือบเจลาตินที่หั่นเป็นคำให้ง่ายต่อการเคี้ยว กับอาหารเหลวที่บรรจุในหลอดอะลูมิเนียมคล้ายหลอดยาสีฟัน จากนั้น ได้พัฒนารูปแบบอาหารโดยใช้เทคโนโลยีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง รับประทานโดยการเติมน้ำร้อนในบรรจุภัณฑ์ หรือการทำแห้งและอัดเป็นก้อนพอดีคำ รับประทานโดยไม่ต้องกัดหรือหั่น และไม่ต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน รวมถึงออกแบบภาชนะบรรจุที่สามารถใช้ช้อนในการรับประทานอาหารในอวกาศได้ ทั้งนี้ อาหารอวกาศต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ มีอายุการเก็บรักษานาน คงตัวต่อสภาพแวดล้อมรอบยานอวกาศ มีความหลากหลายด้านเนื้อสัมผัสและกลิ่นรส ไม่มีชิ้นส่วนที่สามารถหลุดลอยออกไปซึ่งอาจไปอุดตันในอุปกรณ์ต่าง ๆ ของยานอวกาศ เป็นอาหารที่รับประทานได้ง่าย ใช้เวลาน้อยในการเตรียมก่อนรับประทาน มีความอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การผลิตอาหารสำหรับนักบินอวกาศต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในอาหาร คือ GMP (Good Manufacturing Practice) หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารเป็นพื้นฐาน และ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) หรือระบบการประกันคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร โดยคำนึงถึงอันตราย 3 ด้าน ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ เน้นการควบคุมตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อนักบินอวกาศ

There are no comments on this title.

to post a comment.