การศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร [Electronic resource] / อทิตยา รัตนจินดา.

By: อทิตยา รัตนจินดาMaterial type: ArticleArticleISSN: 2586-8632Subject(s): FOOD65M12 | การบริโภคอาหาร | เบเกอรี In: วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม 6, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) Summary: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ 2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ 5) ศึกษาความต้องการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนับจำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) อายุ และรายได้ต่างกันมีความต้องการบริโภคเอแคร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศต่างกันมีความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน 2) เพศ อายุ และรายได้ต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคเอแคลร์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความต้องการ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์มี ด้านราคามี ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
No physical items for this record

20221213

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ 2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ 5) ศึกษาความต้องการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนับจำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) อายุ และรายได้ต่างกันมีความต้องการบริโภคเอแคร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศต่างกันมีความต้องการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน 2) เพศ อายุ และรายได้ต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคเอแคลร์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความต้องการ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์มี ด้านราคามี ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเอแคร์ของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

There are no comments on this title.

to post a comment.