หอมกรุ่นโรบัสตาศรีสะเกษ / รัชนี ศิริยาน และคนอื่นๆ.

By: รัชนี ศิริยานContributor(s): นิตยา คงสวัสดิ์ | ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ | สุคนธ์ วงศ์ชนะMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD66M03 | กาแฟ | เครื่องดื่ม | ผลิตภัณฑ์กาแฟ | อาหาร | สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ | กาแฟ -- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- ศรีสะเกษ | Geographical indications In: กสิกร 96, 1 (ต.ค.-พ.ย. 2565) 6-10 Summary: กาแฟโรบัสตาศรีสะเกษ (Sisaket Robusta Coffee) คือ กาแฟโรบัสตา พันธุ์ชุมพร 2, ชุมพร 84-4, ชุมพร 84-5 และสายพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ จากการประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัสประกอบด้วย กลิ่นรส รสชาติ ความรู้สึกทางเคมี และความรู้สึกโดยทั้งสิ้น 26 ลักษณะ พบว่ามีความแตกต่างกันมากถึง 20 ลักษณะ ลักษณะที่โดดเด่นของกาแฟ ได้แก่ มีรสขมน้อย ความหวานมาก ปริมาณคาเฟอีนสูง และมีกลิ่นรสผลไม้ที่เด่นชัด โดยได้รับการทดสอบรสชาติจากหน่วยวิจัยทางประสาทสัมผัสและผู้บริโภคแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร และตรวจหาปริมาณสารคาเฟอีนจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของกาแฟโรบัสตาที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและรองรับการสร้างแบรนด์สินค้า ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า เกษตรกรที่ปลูกกาแฟโรบัสตา จะมีรายได้จากการขายกาแฟผลสดเฉลี่ย 21,375-32,250 บาทต่อไร่ หรือกาแฟผลแห้งเฉลี่ย 28,500-43,000 บาทต่อไร่ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น กาแฟคั่ว กาแฟดริป ทำให้เกิดแบรนด์สินค้าที่มีชื่อว่า “กาแฟโรบัสตาศรีสะเกษ” ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อย่างมากอีกด้วย
No physical items for this record

YJ2023 M03

กาแฟโรบัสตาศรีสะเกษ (Sisaket Robusta Coffee) คือ กาแฟโรบัสตา พันธุ์ชุมพร 2, ชุมพร 84-4, ชุมพร 84-5 และสายพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ จากการประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัสประกอบด้วย กลิ่นรส รสชาติ ความรู้สึกทางเคมี และความรู้สึกโดยทั้งสิ้น 26 ลักษณะ พบว่ามีความแตกต่างกันมากถึง 20 ลักษณะ ลักษณะที่โดดเด่นของกาแฟ ได้แก่ มีรสขมน้อย ความหวานมาก ปริมาณคาเฟอีนสูง และมีกลิ่นรสผลไม้ที่เด่นชัด โดยได้รับการทดสอบรสชาติจากหน่วยวิจัยทางประสาทสัมผัสและผู้บริโภคแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร และตรวจหาปริมาณสารคาเฟอีนจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของกาแฟโรบัสตาที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและรองรับการสร้างแบรนด์สินค้า ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า เกษตรกรที่ปลูกกาแฟโรบัสตา จะมีรายได้จากการขายกาแฟผลสดเฉลี่ย 21,375-32,250 บาทต่อไร่ หรือกาแฟผลแห้งเฉลี่ย 28,500-43,000 บาทต่อไร่ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น กาแฟคั่ว กาแฟดริป ทำให้เกิดแบรนด์สินค้าที่มีชื่อว่า “กาแฟโรบัสตาศรีสะเกษ” ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อย่างมากอีกด้วย

There are no comments on this title.

to post a comment.