ก่อนดื่มคิดสักนิด มารู้จักกับพิษของเอทิลแอลกอฮอล์ / นิธิยา รัตนาปนนท์.

By: นิธิยา รัตนาปนนท์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD66M09 | อาหาร | เครื่องดื่ม | เอทานอล | แอลกอฮอล์ | เบียร์ | สุรา | ไวน์ | แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส | แอลกอฮอล์ในร่างกาย | แอลกอฮอล์ในเลือด In: FOOD FOCUS THAILAND 18, 207 (Jun. 2023) 122-126 Summary: เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) หรือ เอทานอล (ethanol) เกิดจากกระบวนการหมักของน้ำตาลในผลไม้ด้วยยีสต์ การผลิตเอทานอลที่ผลิตจากน้ำผลไม้หรือวัตถุดิบต่างชนิดกัน จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น การหมักน้ำผึ้ง ได้ผลิตภัณฑ์เรียกว่าหมีด (mead) การหมักเมล็ดธัญชาติ ได้ผลิตภัณฑ์เรียกว่าเบียร์ การหมักผลองุ่น ได้ผลิตภัณฑ์ เรียกว่าไวน์ เอทานอลช่วยให้บริโภคอาหารได้ดีขึ้น คนปกติควรได้รับเอทานอลน้อยกว่า 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เอทานอลประมาณร้อยละ 2-10 จะถูกขับออกจากร่างกายทางปอดและไต ร้อยละ 90 จะถูกออกซิไดส์ที่เซลล์ตับ ในร่างกายของคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์จะไม่มีเอทานอลในกระแสเลือด หากในกระแสเลือดมีปริมาณเอทานอล 50-100 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เป็นระดับที่มีพิษต่อร่างกาย หากมีเอทานอลในเซลล์มาก จะทำให้การทำงานของเซลล์ตับผิดปกติ ทำให้เกิดตับแข็งได้ การดื่มเอทานอล มากเกินไปหรือเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อเมแทบอลิซึมของร่างกาย ต่อกระบวนการทางเคมี ชีวเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อประสาทและระบบประสาท ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง ตับอ่อนอัดเสบ ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ มะเร็งเต้านม ช่องปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง ตับ ลำไส้ใหญ่ และเกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก่อให่เกิดโรคเกาต์ได้
No physical items for this record

YJ2023 M07

เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) หรือ เอทานอล (ethanol) เกิดจากกระบวนการหมักของน้ำตาลในผลไม้ด้วยยีสต์ การผลิตเอทานอลที่ผลิตจากน้ำผลไม้หรือวัตถุดิบต่างชนิดกัน จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น การหมักน้ำผึ้ง ได้ผลิตภัณฑ์เรียกว่าหมีด (mead) การหมักเมล็ดธัญชาติ ได้ผลิตภัณฑ์เรียกว่าเบียร์ การหมักผลองุ่น ได้ผลิตภัณฑ์ เรียกว่าไวน์ เอทานอลช่วยให้บริโภคอาหารได้ดีขึ้น คนปกติควรได้รับเอทานอลน้อยกว่า 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เอทานอลประมาณร้อยละ 2-10 จะถูกขับออกจากร่างกายทางปอดและไต ร้อยละ 90 จะถูกออกซิไดส์ที่เซลล์ตับ ในร่างกายของคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์จะไม่มีเอทานอลในกระแสเลือด หากในกระแสเลือดมีปริมาณเอทานอล 50-100 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เป็นระดับที่มีพิษต่อร่างกาย หากมีเอทานอลในเซลล์มาก จะทำให้การทำงานของเซลล์ตับผิดปกติ ทำให้เกิดตับแข็งได้ การดื่มเอทานอล มากเกินไปหรือเป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อเมแทบอลิซึมของร่างกาย ต่อกระบวนการทางเคมี ชีวเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อประสาทและระบบประสาท ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง ตับอ่อนอัดเสบ ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ มะเร็งเต้านม ช่องปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง ตับ ลำไส้ใหญ่ และเกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก่อให่เกิดโรคเกาต์ได้

There are no comments on this title.

to post a comment.