การผลิตฟักทองคุณภาพและปลอดสารพิษ / รัตนาภรณ์ กุลชาติ และคนอื่น ๆ.

By: รัตนาภรณ์ กุลชาติContributor(s): ศศิธร ประพรม | นฤทัย วรสถิตย์ | สุพจน์ สัตยากุลMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD66M09 | อาหาร | อาหารเพื่อสุขภาพ | พืชอาหาร | ฟักทอง | ฟักทอง -- แง่โภชนาการ In: กสิกร 96, 5 (มิ.ย.-ก.ค. 2566) 34-42 Summary: “ฟักทอง” เป็นพืชอาหารสุขภาพชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนู ซึ่งฟักทองมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน วิตามิน และแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก และซิงค์ การรับประทานฟักทองจึงช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและสายตาดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงและสุขภาพผิวดีขึ้น มีแคลอรี่และไขมันน้อย เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจึงต้องใช้วัตถุดิบที่เกษตรกรผลิตได้ในท้องถิ่นตามมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานการผลิตพืชแบบอินทรีย์ โดยนำเทคโนโลยีการผลิตฟักทองแบบปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ตามหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) ไปทดสอบและเปรียบเทียบกับวิธีเดิมของเกษตรกร พบว่า การปลูกฟักทองตามวิธีทดสอบให้ผลผลิตและผลตอบแทนที่สูงกว่าวิธีเกษตรกรและไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิตทั้งสองกรรมวิธี และแปลงทดสอบได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ซึ่งดำเนินการออกใบรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด
No physical items for this record

YJ2023 M09

“ฟักทอง” เป็นพืชอาหารสุขภาพชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนู ซึ่งฟักทองมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน วิตามิน และแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก และซิงค์ การรับประทานฟักทองจึงช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและสายตาดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงและสุขภาพผิวดีขึ้น มีแคลอรี่และไขมันน้อย เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจึงต้องใช้วัตถุดิบที่เกษตรกรผลิตได้ในท้องถิ่นตามมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานการผลิตพืชแบบอินทรีย์ โดยนำเทคโนโลยีการผลิตฟักทองแบบปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ตามหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) ไปทดสอบและเปรียบเทียบกับวิธีเดิมของเกษตรกร พบว่า การปลูกฟักทองตามวิธีทดสอบให้ผลผลิตและผลตอบแทนที่สูงกว่าวิธีเกษตรกรและไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิตทั้งสองกรรมวิธี และแปลงทดสอบได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ซึ่งดำเนินการออกใบรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด

There are no comments on this title.

to post a comment.