เตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ สู่วิสาหกิจชุมชนต่อยอดการแปรรูปในเชิงธุรกิจ และส่งเสริมเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD66M11 | อาหาร | อาหารแปรรูป | ผลิตภัณฑ์อาหาร | การปรุงอาหาร | การปรุงอาหาร (ปลา) | ปลา -- การแปรรูป | นวัตกรรมทางการเกษตร | สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- สุราษฎร์ธานี | Geographical indications -- Surat Thani In: จดหมายข่าว วช 18, 149 (ส.ค. 2566) 12 Summary: ปลาเม็ง ถือเป็นปลาประจำท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาเม็งอย่างแพร่หลายริมแม่น้ำตาปีและร่องสวนปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่อำเภอบ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสง และเคียน ปลาเม็งเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีลักษณะเฉพาะที่มีเนื้อเหนียวเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย และมีรสชาติหอม หวาน ขายดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยนวัตกรรมเพื่อเกษตรชุมชน “เตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ” ที่ใช้พลังงานโซล่าเซลล์ในกระบวนการแปรรูป เพื่อประหยัดพลังงาน สามารถอบแห้งและรมควันได้ในเครื่องเดียว มีกำลังการผลิต 30 กิโลกรัมสด ใช้เวลาอบและรมควัน 12 ชั่วโมง ได้ปลารมควันแห้งน้ำหนัก 10 กิโลกรัม นอกจากนี้ นวัตกรรมเตาอบรมควันยังสามารถนำไปอบสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ วช. ได้ส่งมอบนวัตกรรมเตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ ให้วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ชุมชนแห่งนี้แปรรูปปลาได้ง่ายขึ้น ลดระยะเวลาการทำงาน และลดการฟุ้งกระจายของควัน ช่วยพัฒนาต่อยอดสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนแบบครบวงจร ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับจำหน่ายเชิงพาณิชย์ พัฒนาต่อยอดการแปรรูปปลาเม็งในเชิงธุรกิจ เช่น ต้มโคลงปลาเม็ง ปลาเม็งย่างรมควัน และยำปลาเม็ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP, อย. และเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
No physical items for this record

YJ2023 M11

ปลาเม็ง ถือเป็นปลาประจำท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาเม็งอย่างแพร่หลายริมแม่น้ำตาปีและร่องสวนปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่อำเภอบ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสง และเคียน ปลาเม็งเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีลักษณะเฉพาะที่มีเนื้อเหนียวเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย และมีรสชาติหอม หวาน ขายดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยนวัตกรรมเพื่อเกษตรชุมชน “เตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ” ที่ใช้พลังงานโซล่าเซลล์ในกระบวนการแปรรูป เพื่อประหยัดพลังงาน สามารถอบแห้งและรมควันได้ในเครื่องเดียว มีกำลังการผลิต 30 กิโลกรัมสด ใช้เวลาอบและรมควัน 12 ชั่วโมง ได้ปลารมควันแห้งน้ำหนัก 10 กิโลกรัม นอกจากนี้ นวัตกรรมเตาอบรมควันยังสามารถนำไปอบสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ วช. ได้ส่งมอบนวัตกรรมเตาอบรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ ให้วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ชุมชนแห่งนี้แปรรูปปลาได้ง่ายขึ้น ลดระยะเวลาการทำงาน และลดการฟุ้งกระจายของควัน ช่วยพัฒนาต่อยอดสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนแบบครบวงจร ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านสำหรับจำหน่ายเชิงพาณิชย์ พัฒนาต่อยอดการแปรรูปปลาเม็งในเชิงธุรกิจ เช่น ต้มโคลงปลาเม็ง ปลาเม็งย่างรมควัน และยำปลาเม็ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP, อย. และเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

There are no comments on this title.

to post a comment.