เอนอ้า โคลงเคลงขนที่ไม่ใช่โคลงเคลง / ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์.

By: ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD67M05 | ต้นเอนอ้า | ต้นเอนอ้า -- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ | ต้นเอนอ้า -- สรรพคุณทางยา | ต้นเอนอ้า -- การตั้งชื่อ In: หมอชาวบ้าน 45, 538 (ก.พ. 2567) 60-62Summary: ต้นเอนอ้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Osbeckia stellate Buch.-Ham. Ex.Ker Gawl. อยู่ในวงศ์โคลงเคลง (Melastomataceae) ซึ่งมีจำนวนสกุลจำแนกได้ 211 สกุลและพบในไทย 15 สกุล เช่น สกุลเอนอ้า (Osbeckia sp.) และสกุลโคลงเคลง (Melastoma sp.) ซึ่งทั้งสองสกุลมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งวิธีการแยกเอนอ้าและโคลงเคลง คือ เอนอ้า มี 4 กลีบดอก และโคลงเคลงมี 5 กลีบดอก ต้นเอนอ้ามีลักษณะดังนี้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่แกมรูปใบหอก โคนใบมีลักษณะมน ดอกเป็นช่อกระจุกมีดอกสีม่วง 4 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เกสรตัวผู้สีเหลือง มีผลรูปคนโทมีรสหวานเมื่อสุก จะออกผลในฤดูหนาวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบในบริเวณทุ่งหญ้า ที่โล่ง และสันเข้าบริเวณที่ชื้นแฉะที่ และต้นเอนอ้ามีชื่อเรียกเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือคือ ป่าอ้า เฒ่านั่งฮุ้ง ภาคอีสานคือ โคลงเคลงหิน โคลงเคลงขน ภาคใต้คือ บ่าอ้า และภาคกลางคือ เอนอ้า เอนอ้าขนเป็นต้น ต้นเอนอ้ามีสรรพคุณทางยาคือรากสามารถรักษาอาการร้อนใน ดับพิษไข้ บำรุงธาตุ กระหายน้ำ และช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถนำมาต้มรวมกับสมุนไพรอื่น เช่น รากเขื่องแข้งม้าและรากกูดก๊อง เพื่อแก้อาเจียน แก้คอพอก ถ่ายเป็นเลือด บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร และปวดเมื่อยตามร่างกาย
No physical items for this record

YJ2024 M03

ต้นเอนอ้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Osbeckia stellate Buch.-Ham. Ex.Ker Gawl. อยู่ในวงศ์โคลงเคลง (Melastomataceae) ซึ่งมีจำนวนสกุลจำแนกได้ 211 สกุลและพบในไทย 15 สกุล เช่น สกุลเอนอ้า (Osbeckia sp.) และสกุลโคลงเคลง (Melastoma sp.) ซึ่งทั้งสองสกุลมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งวิธีการแยกเอนอ้าและโคลงเคลง คือ เอนอ้า มี 4 กลีบดอก และโคลงเคลงมี 5 กลีบดอก ต้นเอนอ้ามีลักษณะดังนี้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่แกมรูปใบหอก โคนใบมีลักษณะมน ดอกเป็นช่อกระจุกมีดอกสีม่วง 4 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เกสรตัวผู้สีเหลือง มีผลรูปคนโทมีรสหวานเมื่อสุก จะออกผลในฤดูหนาวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบในบริเวณทุ่งหญ้า ที่โล่ง และสันเข้าบริเวณที่ชื้นแฉะที่ และต้นเอนอ้ามีชื่อเรียกเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือคือ ป่าอ้า เฒ่านั่งฮุ้ง ภาคอีสานคือ โคลงเคลงหิน โคลงเคลงขน ภาคใต้คือ บ่าอ้า และภาคกลางคือ เอนอ้า เอนอ้าขนเป็นต้น ต้นเอนอ้ามีสรรพคุณทางยาคือรากสามารถรักษาอาการร้อนใน ดับพิษไข้ บำรุงธาตุ กระหายน้ำ และช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถนำมาต้มรวมกับสมุนไพรอื่น เช่น รากเขื่องแข้งม้าและรากกูดก๊อง เพื่อแก้อาเจียน แก้คอพอก ถ่ายเป็นเลือด บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร และปวดเมื่อยตามร่างกาย

There are no comments on this title.

to post a comment.