TY - SER AU - เสาวลักษณ์ ไกรนรา TI - การหมักกากมันสำปะหลังโดยใช้จุลินทรีย์กึ่งไร้อากาศ (Facultative anaerobe) ร่วมกับรากลุ่ม Aspergillus Sp. และ Rhizopus Sp. KW - กากมันสำปะหลัง KW - วิจัย KW - การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ KW - จุลินทรีย์ N2 - กากมันสำปะหลัง เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีองค์ประกอบของคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงถึงร้อยละ 65-70 เป็นแหล่งพลังงานที่ดีเหมาะแก่การนำมาทำอาหารสัตว์ในรูปของกากมันสำปะหลังหมัก ซึ่งนอกจากเป็นการถนอมคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังสามารถลดไซยาไนด์ที่มีอยู่ในมันสำปะหลังได้ด้วย งานวิจัยนี้จึงนำจุลินทรีย์กึ่งไร้อากาศ (Facultative anaerobic; FA) มาใช้หมักกากมันสำปะหลังร่วมกับราที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ Aspergillus oryzae, Aspergillus niger BCC17849, Rhizopus oryzae TISTR3535 และ Rhizopus oligosporus BCC5821 หลังจากหมักเป็นเวลา 2 วัน ค่าพีเอชของกากมันสำปะหลังลดลงเหลือ 3.8-4.5 เมื่อพิจารณากรดแลคติกในกากมันสำปะหลังที่หมัก; โดยไม่เติมรา และที่เติมรากลุ่ม A. oryzae, A. niger, R. oryzae และ R. oligosporus พบว่ามีปริมาณร้อยละ 0.13, 0.24, 0.14, 0.08 และ 0.10 (w/v) ตามลำดับ เมื่อเพิ่มปริมาตรของ FA ในการหมักเป็น 2 เท่า พบว่าชนิดและปริมาณกรดอินทรีย์ในกากมันสำปะหลังมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีกรดบิวทีริกซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในระบบ โดยการทดลองที่ไม่เติมรามีกรดบิวทีริกสูงสุดคือร้อยละ 0.19 ส่วนการทดลองที่เติมรา A. oryzae มีกรดบิวทีริกร้อยละ 0.13 สรุปได้ว่ารา A. oryzae นอกจากช่วยเร่งการผลิตกรดแลคติกแล้วยังช่วยลดการผลิตกรดบิวทีริกในระบบด้วย ซึ่งผลทดลองที่ได้น่าจะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยสำหรับหมักกากมันสำปะหลังเพื่อเป็นอาหารสัตว์ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป Sources - THAI ENVIRONMENTAL ENGINEERING JOURNAL Sources - 25, 2 (May.-Aug. 2011) 87-96 ISSN - 1686-2961 ER -