TY - SER AU - กิ่งกระดังงา, นามแฝง TI - น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้ KW - น้ำตาล KW - การใช้ประโยชน์ KW - ประเภท N2 - น้ำตาล แบ่งประเภท ตามวัตถุดิบที่นำมาผลิต ได้แก่ น้ำตาลโตนด คือ น้ำตาลจากต้นตาล เรียกว่าน้ำตาลปึก มีรสหวาน เค็มเล็กน้อย เหมาะใส่ส้มตำ ทำขนมหวานน้ำ น้ำตาลมะพร้าวได้มาจากมะพร้าวมีสีเหลืองอ่อนรสหวาน เค็ม น้ำตาลอ้อย ทำจากต้นอ้อยใช้ทำกับข้าวที่ต้องการให้หอมน้ำอ้อย น้ำตาลทรายชนิดหยาบ ใช้ทำขนม น้ำเชื่อมใส่น้ำผลไม้ หรือเพิ่มรสในกับข้าว ใส่ในเครื่องดื่ม น้ำตาลทรายแดงทำจากน้ำตาลอ้อยใส่ในเต้าฮวย น้ำขิง เฉาก๊วย, น้ำตาลก้อน เป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆใส่ชา กาแฟ น้ำตาลเทียม เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก; น้ำตาล แบ่งตามลักษณะโมเลกุลได้ดังนี้ 1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว มีรสหวานละลายน้ำได้ดี ร่างกายนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องย่อย 2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ เมื่อกินเข้าไปร่างกายจะย่อยสลายให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ 3. น้ำตาลหลายชั้น หรือน้ำตาลเชิงซ้อน เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากน้ำตาลชั้นเดียว หลายโมเลกุลรวมกันไม่มีรสหวาน ละลายน้ำยากหรือไม่ละลายเลย การกินน้ำตาลมากๆมีอันตรายต่อสุขภาพทำให้เกิดโรคอ้วน โรคฟันผุ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีผลต่อการทำงานสมองทำให้รู้สึกง่วง เป็นตะคริวเวลามีรอบเดือน เป็นสิว ปวดศีรษะเรื้อรัง มะเร็งตับ จะทำให้ผิวเหี่ยวเพราะน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดมากจะไปเกาะติดกับเส้นใยโปรตีน ที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิวได้ ISSN - 1905-1514 Sources - วารสาร อพวช. Sources - 12, 134 (ส.ค. 2556) 14-17 ER -