สาวบางแค 22 , นามแฝง.

ถ่านชีวภาพสู้ภัยแล้งในพื้นที่วนเกษตรไม้ผล ผลงานมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ / สาวบางแค 22.

YJ2020 M07

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจังหวัดอุตรดิตถ์และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคเหนือ จัดงาน "มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563" (Regional Research Expo 2020) ภายใต้แนวคิด งานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาค ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเมืองแห่งผลไม้ มีระบบวิถีการเกษตรแบบวนเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์จึงใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาส่งเสริมและพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตถ่านชีวภาพเป็นวัสดุบำรุงดินร่วมกับสารชีวภัณฑ์ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผล ทดแทนการใช้สารเคมี ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์ (Biochar) สามารถผลิตได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียน ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เปลือกแมคคาเดเมีย ฯลฯ มาผ่านกระบวนการด้วยเตาเผาถ่านชีวภาพที่มีความร้อนประมาณ 400-800 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการเผาที่รวดเร็ว ถ่านชีวภาพมีประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ช่วยจัดการของเสียประเภทอินทรียวัตถุ ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในดิน ช่วยลดการปนเปื้อนและดูดซับโลหะหนักในดินได้.


Material63M08


วัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจ.
ถ่าน.
ถ่านชีวภาพ.
เตาเผาถ่าน.

เทคโนโลยีชาวบ้าน 32, 717 (15 เม.ย. 2563) 95-97 0858-141x