TY - SER AU - หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์. AU - จิรพร สวัสดิการ. AU - รุ่งทิวา สุวรรณรัตน์. TI - การสกัดและการประยุกต์ใช้เพคตินจากเปลือกทุเรียน Extraction and application of pectin from durian rind KW - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี KW - คณะเทคโนโลยีการเกษตร KW - วิจัย KW - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี KW - สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ KW - เพคติน KW - ทุเรียน KW - การใช้ปรุงอาหาร KW - แยม KW - เยลลี่ KW - การสกัด (เคมี) N1 - YJ2021 M06 N2 - การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียนและประยุกต์ใช้ในการทำแยมและเยลลี่ ทำได้โดยนำเปลือกทุเรียนส่วนสีขาวมาบด ทำแห้งและสกัดโดยใช้กรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 0.05 โมลาร์ น้ำกลั่นและความดันไอสูง จากผลการทดลอง พบว่า วิธีการสกัดที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียน คือ การสกัดด้วยกรดไฮโดรคลอริก เนื่องจากค่าระดับการเกิดเอสเทอริฟิเคชั่น ปริมาณเมทอกซิล และปริมาณกรดกาแลคทูโรนิค มีค่าใกล้เคียงกับเพคตินทางการค้า การทดลองต่อไปทำโดยสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียนด้วยกรดไฮโดรคลอริกที่อุณหภูมิและเวลาต่าง ๆ ซึ่งผลการทดลอง พบว่า อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียน คือ อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง เพคตินที่สกัดได้จัดเป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลสูง มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเพคตินเกรดโรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับเพคตินทางการค้าตามข้อกำหนดของคณะกรรมการด้านวัตถุเจือปนอาหาร เมื่อนำเพคตินที่สกัดไปประยุกต์ใช้ในแยมสับปะรดและเยลลี่ส้ม และทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยใช้ผู้ทดสอบชิมที่ได้รับการฝึกฝน พบว่าผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับแยมสับปะรดและเยลลี่ส้มที่มีการเติมเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกทุเรียนในระดับชอบเล็กน้อย UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/208094/144333 Sources - วารสารวิจัยรำไพพรรณี Sources - 13,2 (พ.ค.- ส.ค. 2562) 25-37 ER -