TY - SER AU - ลัดดา แสงเดือน วัฒนศิริธรรม. TI - การแพ้แมลงกินได้ KW - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ KW - สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร KW - องค์ประกอบอาหาร KW - โปรตีน N1 - 20230212 N2 - แมลงกินได้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนทางเลือกใหม่ในอนาคตมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประเทศไทยนิยมบริโภคแมลงกินได้ในบางพื้นที่ ปัจจุบันมีการบริโภคแพร่หลายมากขึ้น แมลงส่วนใหญ่ที่นำมาบริโภค ได้แก่ แมลงกินูน (จินูน) แมลงกุดจี่ แมลงดานา ตัวอ่อนผึ้ง มดแดง ตัวอ่อนของต่อ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงกระชอน แมลงเหนี่ยง แมลงตับเต่า แมลงมัน แมลงเม่า แมลงค่อมทอง หนอนเยื่อไผ่ หนอนและดักแด้ไหม รูปแบบการนำมาบริโภคมีทั้งบริโภคทั้งตัวและแปรรูปเป็นส่วนผสมในอาหาร มีรายงานการแพ้จากการบริโภคแมลงกินได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ส่วนใหญ่ ได้แก่ โทรโพไมโอซิน (tropomyosin) และอาร์จินีนไคเนส (arginine kinase) ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญในสัตว์น้ำมีเปลือก เนื่องจากจิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีแนวโน้มการบริโภคสูงขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ บทความนี้ได้รายงานการวิจัยเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในจิ้งหรีดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานวิจัยในอนาคต ISSN - 0125-1147 (Online) Sources - วารสารอาหาร Sources - 52, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2565) 37-47 ER -