000 04615nab a22001817a 4500
008 22100622565 ||||| |||| 00| 0 tha d
100 0 _aวาสนา นาราศรี.
_9133309
245 1 0 _aผักที่มีกรดอะมิโนสูง : ต้นอ่อนทานตะวัน
_h[Electronic resource] /
_cวาสนา นาราศรี.
518 _a20221006
520 _aต้นอ่อนทานตะวัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus L. เป็นผักที่ได้จากการเพาะเมล็ดทานตะวันให้มีการงอก ประมาณ 7-10 วัน ซึ่งยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ขนาดที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการตลาด ต้นอ่อนทานตะวันเป็นวัตถุดิบที่อุดมไปด้วย สารอาหารและสารพฤกษเคมี ได้แก่ มีปริมาณโปรตีน สูง มีวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินอี วิตามินซี ซีลีเนียม ธาตุเหล็ก โฟเลต กรดไขมันที่จําเป็นต่อร่างกาย คือ โอเมก้า 3 6 และ 9 และ สารประกอบฟีนอลิก อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนอย่าง GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งทั้งหมดล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สําคัญการบริโภคผักต้นอ่อนในปริมาณเล็กน้อยจะได้รับคุณค่าสารอาหารมากกว่าการบริโภคผักที่โตเต็มที่แบบปกติ ต้นอ่อนทานตะวันมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม มีสีที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถนํามาประกอบอาหารได้ทุกประเภท และรสชาติอร่อย จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ต้นอ่อนทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 53 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และใย อาหาร เท่ากับ 2.4, 2.4, 4.7 และ 1.2 กรัม ตามลําดับ ซึ่งโปรตีนในต้นอ่อนทานตะวันเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จําเป็นต่อร่างกายและยังมีกรดกลูตามิก กรดอะมิโนมีบทบาทที่สําคัญนอกจากให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยมีผลต่อรสชาติของอาหาร เพราะกรดอะมิโน แต่ละชนิดมีรสชาติที่เฉพาะต่างกัน ดังนั้นการรวมกัน ของสิ่งเหล่านี้จึงทําให้ต้นอ่อนทานตะวันมีรสชาติที่กลมกล่อม หรือรสชาติอูมามิในอาหารต่าง ๆ
610 2 4 _aมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
_bสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร.
_928832
648 _aFOOD65M09
_9207589
650 4 _aการปรุงอาหาร (ทานตะวัน).
_9207594
650 4 _aทานตะวัน
_xสารพฤกษเคมี.
_9207595
773 _tวารสารอาหาร
_g52, 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2565) 44-47
_x0125-1147
850 _aเอกสารภาษาไทย (ชั้น 5)
942 _2lcc
999 _c159513
_d159513