องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยขิง / วทันยา ลิมปพยอม และคนอื่นๆ

Contributor(s): วทันยา ลิมปพยอมMaterial type: ArticleArticleSubject(s): SPV59M06 | FOOD59M06 | ขิง -- สารต้านอนุมูลอิสระ -- วิจัย | ขิง -- สรรพคุณทางยา | น้ำมันหอมระเหย -- ขิง -- วิจัย In: วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 37, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2557) 297-312Summary: งานวิจัยนี้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยจากขิงอ่อนและขิงแก่พันธุ์ไทยที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีต้มกลั่นและการสกัดด้วยเอทานอล น้ำมันหอมระเหยจากขิงอ่อนและขิงแก่ที่ได้จากการต้มกลั่นและ absolute จากการสกัดด้วยเอทานอลมีค่าดัชนีการหักเหคลื่นแสงระหว่าง 1.348-1.500 เมื่อวิเคราะห์สารหอมระเหยด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์ พบว่าการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธีการต้มกลั่น ทั้งจากขิงอ่อนสดและขิงแก่สดมี zingiberene มากที่สุด โดยมี %relative peak area เท่ากับ 16.52 และ 20.30 ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากขิงอ่อนแห้งมี camphene มากที่สุด และน้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่แห้งมี geranial มากที่สุด ส่วน absolute ที่สกัดด้วยเอทานอลพบว่า absolute ขิงอ่อนแห้งและขิงแก่แห้งมี zingiberene มากที่สุด โดยมี %relative peak area เท่ากับ 31.81 และ 36.50 ตามลำดับ และพบ gingerol ใน absolute ขิงอ่อนแห้งมากกว่าขิงแก่แห้ง น้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่สดจากการต้มกลั่นมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) สูงที่สุด โดยมีค่า %scavenging effect เท่ากับ 97.16% รองลงมาคือ น้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่แห้งจากการต้มกลั่น 88.79% และ absolute ขิงแก่แห้งที่สกัดด้วยเอทานอล 84.81 % ส่วนความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ไฮดรอกซิลของน้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่แห้งจากการต้มกลั่นมีค่ามากที่สุด คือ 99.18% รองลงมา คือ น้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่สดที่ได้จากการต้มกลั่น 82.54% และ absolute ขิงแก่แห้งที่สกัดด้วยเอทานอล 76.00 % แต่น้ำมันหอมระเหยและ absolute จากขิงอ่อนมีประสิทธิสูงกว่า 80 % ในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล.
No physical items for this record

YJ2016 M10

งานวิจัยนี้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยจากขิงอ่อนและขิงแก่พันธุ์ไทยที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีต้มกลั่นและการสกัดด้วยเอทานอล น้ำมันหอมระเหยจากขิงอ่อนและขิงแก่ที่ได้จากการต้มกลั่นและ absolute จากการสกัดด้วยเอทานอลมีค่าดัชนีการหักเหคลื่นแสงระหว่าง 1.348-1.500 เมื่อวิเคราะห์สารหอมระเหยด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์ พบว่าการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธีการต้มกลั่น ทั้งจากขิงอ่อนสดและขิงแก่สดมี zingiberene มากที่สุด โดยมี %relative peak area เท่ากับ 16.52 และ 20.30 ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากขิงอ่อนแห้งมี camphene มากที่สุด และน้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่แห้งมี geranial มากที่สุด ส่วน absolute ที่สกัดด้วยเอทานอลพบว่า absolute ขิงอ่อนแห้งและขิงแก่แห้งมี zingiberene มากที่สุด โดยมี %relative peak area เท่ากับ 31.81 และ 36.50 ตามลำดับ และพบ gingerol ใน absolute ขิงอ่อนแห้งมากกว่าขิงแก่แห้ง น้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่สดจากการต้มกลั่นมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) สูงที่สุด โดยมีค่า %scavenging effect เท่ากับ 97.16% รองลงมาคือ น้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่แห้งจากการต้มกลั่น 88.79% และ absolute ขิงแก่แห้งที่สกัดด้วยเอทานอล 84.81 % ส่วนความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ไฮดรอกซิลของน้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่แห้งจากการต้มกลั่นมีค่ามากที่สุด คือ 99.18% รองลงมา คือ น้ำมันหอมระเหยจากขิงแก่สดที่ได้จากการต้มกลั่น 82.54% และ absolute ขิงแก่แห้งที่สกัดด้วยเอทานอล 76.00 % แต่น้ำมันหอมระเหยและ absolute จากขิงอ่อนมีประสิทธิสูงกว่า 80 % ในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล.

There are no comments on this title.

to post a comment.