อาหารดัดแปรทางพันธุกรรม (GM Foods) : ที่มาและการตรวจวิเคราะห์ / ดวงกมล เจริญวงศ์.

By: ดวงกมล เจริญวงศ์Material type: ArticleArticleSubject(s): FOOD61M03 | อาหารดัดแปรพันธุกรรม | อาหารดัดแปรพันธุกรรม -- แง่โภชนาการ In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 32, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560) 46-48Summary: พืชดัดแปรทางพันธุกรรม หรือ Genetically Modified Crops ; Gm crops เข้ามาในห่วงโซ่อาหารมากขึ้น ประเทศที่มีการปลูกพืชดัดแปรทางพันธุกรรมเป็นอันดับต้นๆคือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา อินเดีย จีน และอเมริกา อัตราปลูกพืชดัดแปรทางพันธุกรรมในประเทศดังกล่าวมีการเพิ่มขึ้นทุกปี พืชที่ดัดแปรทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ คือ ถั่วเหลือง (47%) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(32%) ฝ้าย(15%) จุดเริ่มต้นของการพัฒนาพืชดัดแปรทางพันธุกรรม เริ่มมาจากต้องการให้พืชทนทานต่อยาปราบวัชพืช (herbicide tolerance) และยาฆ่าแมลง (pesticide resistance) การใส่สารพันธุกรรมหรือยีนที่ต้องการลงในพืช คือ Promoter และ Terminator ในช่วงแรกมีข้อจำกัดในเรื่องของยีน ทำให้สามารถตัดต่อได้ในพืชไม่กี่ชนิด เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และน้ำมันจาก rapeseed แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถตัดต่อในพืชอื่นๆ เช่น ข้าว ฝ้าย มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดงานวิจัยในการพัฒนาพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือสร้างมูลค่าของพืชชนิดนั้นๆ ในสหภาพยุโรป (European Union ; Eu) มีการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีสารดัดแปรทางพันธุกรรมอย่างเข้มงวด ด้วยวิธีการแสดงฉลาก (Labelling) ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารมีการผลิตจากวัตถุดิบที่มีการดัดแปรทางพันธุกรรมมากกว่า 0.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดพืชที่ดัดแปรพันธุกรรม ต้องระบุว่าเป็นเมล็ดที่มีการดัดแปรทางพันธุกรรมทั้งหมด การตรวจสอบสารดัดแปรทางพันธุกรรมในตัวอย่างทดสอบสามารถวิเคราะห์โดย DNA based method อาศัยหลักการ Polymerase chain reaction (PCR).
No physical items for this record

YJ2018 M03

พืชดัดแปรทางพันธุกรรม หรือ Genetically Modified Crops ; Gm crops เข้ามาในห่วงโซ่อาหารมากขึ้น ประเทศที่มีการปลูกพืชดัดแปรทางพันธุกรรมเป็นอันดับต้นๆคือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา อินเดีย จีน และอเมริกา อัตราปลูกพืชดัดแปรทางพันธุกรรมในประเทศดังกล่าวมีการเพิ่มขึ้นทุกปี พืชที่ดัดแปรทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ คือ ถั่วเหลือง (47%) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(32%) ฝ้าย(15%) จุดเริ่มต้นของการพัฒนาพืชดัดแปรทางพันธุกรรม เริ่มมาจากต้องการให้พืชทนทานต่อยาปราบวัชพืช (herbicide tolerance) และยาฆ่าแมลง (pesticide resistance) การใส่สารพันธุกรรมหรือยีนที่ต้องการลงในพืช คือ Promoter และ Terminator ในช่วงแรกมีข้อจำกัดในเรื่องของยีน ทำให้สามารถตัดต่อได้ในพืชไม่กี่ชนิด เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และน้ำมันจาก rapeseed แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถตัดต่อในพืชอื่นๆ เช่น ข้าว ฝ้าย มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดงานวิจัยในการพัฒนาพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือสร้างมูลค่าของพืชชนิดนั้นๆ ในสหภาพยุโรป (European Union ; Eu) มีการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีสารดัดแปรทางพันธุกรรมอย่างเข้มงวด ด้วยวิธีการแสดงฉลาก (Labelling) ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารมีการผลิตจากวัตถุดิบที่มีการดัดแปรทางพันธุกรรมมากกว่า 0.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดพืชที่ดัดแปรพันธุกรรม ต้องระบุว่าเป็นเมล็ดที่มีการดัดแปรทางพันธุกรรมทั้งหมด การตรวจสอบสารดัดแปรทางพันธุกรรมในตัวอย่างทดสอบสามารถวิเคราะห์โดย DNA based method อาศัยหลักการ Polymerase chain reaction (PCR).

There are no comments on this title.

to post a comment.