น้ำพริกชนเผ่า ความหมายทางวัฒนธรรม / พาณี ศิริสะอาด.

By: พาณี ศิริสะอาดMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD66M05 | อาหาร | การปรุงอาหาร | เครื่องจิ้ม | ข้าว | ผัก | ตะไคร้ | พริก | เครื่องเทศ | แอนติออกซิแดนท์ | สารต้านไวรัส | สารต้านแบคทีเรีย | สารต้านการอักเสบ In: หมอชาวบ้าน 44, 525 (ม.ค. 2566) 60-62 Summary: น้ำพริก เป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง น้ำพริกชนเผ่า มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ พริก เกลือ และส่วนประกอบอื่น ๆ โดยจะใช้ถั่วเหลืองหมักที่เป็นแผ่นแห้งแทนกะปิ (เรียกว่า ถั่วเน่าแผ่น หากยังไม่แห้งเรียกว่า ถั่วเน่าเมอะ) ซึ่งพริกที่ใช้จะเป็นพริกชนเผ่าที่มีความเผ็ดและหอมเป็นเอกลักษณ์ น้ำพริกชนเผ่าจะมีรสชาติคล้ายน้ำพริกของชาวล้านนา เป็นน้ำพริกตาแดงที่ไม่ใส่ปลาร้า แต่ใส่ถั่วเน่าแผ่น น้ำพริกน้ำปูของชนเผ่าปกาเกอะญอ จะใช้พริกขี้หนูแห้งที่คั่วแล้ว ตำใส่ตะไคร้สด มะแขว่นที่คั่วไฟแล้ว ใส่เกลือ และน้ำปู รับประทานคู่กับตะไคร้ต้น ผักอีหลืนหรือเนียมป่า ซึ่งช่วยในการเพิ่มธาตุไฟ ย่อยอาหาร ฆ่าเชื้อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมทำให้น้ำพริกลดบทบาทลง เนื่องจากการจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้อาหาร และน้ำพริกแบบดั้งเดิมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
No physical items for this record

YJ2023 M05

น้ำพริก เป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง น้ำพริกชนเผ่า มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ พริก เกลือ และส่วนประกอบอื่น ๆ โดยจะใช้ถั่วเหลืองหมักที่เป็นแผ่นแห้งแทนกะปิ (เรียกว่า ถั่วเน่าแผ่น หากยังไม่แห้งเรียกว่า ถั่วเน่าเมอะ) ซึ่งพริกที่ใช้จะเป็นพริกชนเผ่าที่มีความเผ็ดและหอมเป็นเอกลักษณ์ น้ำพริกชนเผ่าจะมีรสชาติคล้ายน้ำพริกของชาวล้านนา เป็นน้ำพริกตาแดงที่ไม่ใส่ปลาร้า แต่ใส่ถั่วเน่าแผ่น น้ำพริกน้ำปูของชนเผ่าปกาเกอะญอ จะใช้พริกขี้หนูแห้งที่คั่วแล้ว ตำใส่ตะไคร้สด มะแขว่นที่คั่วไฟแล้ว ใส่เกลือ และน้ำปู รับประทานคู่กับตะไคร้ต้น ผักอีหลืนหรือเนียมป่า ซึ่งช่วยในการเพิ่มธาตุไฟ ย่อยอาหาร ฆ่าเชื้อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมทำให้น้ำพริกลดบทบาทลง เนื่องจากการจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้อาหาร และน้ำพริกแบบดั้งเดิมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

There are no comments on this title.

to post a comment.