คุณสมบัติพรีไบโอติกเบื้องต้นของน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวด้วยสารละลายเอทานอล Primary prebiotic properties of ethanolic sugar extract from mung bean seeds [Electronic resource] / ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน และนารินทร์ หล้าสม.

By: ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสินContributor(s): นารินทร์ หล้าสมMaterial type: ArticleArticleSubject(s): มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ -- วิจัย | FOOD63M12 | น้ำตาล | ถั่วเขียว | เอทานอล | Prebiotics | พรีไบโอติก | โอลิโกแซ็กคาไรด์ | แบคทีเรีย | OligosaccharidesOnline resources: Click here to access online In: วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาลัยสยาม 13, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561) 11-23Summary: เมล็ดพืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งของน้ำตาลโอลิโกแซคคาไรด์กลุ่มราฟฟิโนสซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสารพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้ เมล็ดถั่วเขียวผิวมัน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ได้ถูกนำมาสกัดน้ำตาลที่มีขนาโมเลกุลเล็กด้วยสารละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 (v/v) จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณน้ำตาลและศึกษาความสามารถของน้ำตาลสกัดในการกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียบางสายพันธุ์จากทางเดินอาหารมนุษย์ ผลการทดลองพบว่าน้ำตาลสกัดจากถั่วเขียวทั้ง 4 สายพันธุ์มีขนาดเฉลี่ยในรูปจำนวนหน่วยน้ำตาลอยู่ระหว่าง 3-7 หน่วย โดยพันธุ์กำแพงแสน 2 ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 พบน้ำตาลราฟฟิโนสในปริมาณ 1.76-2.29 mg/g dry seed สตาชิโอส 33.95-34.82 mg/g dry seed และเวอบาสโคส 13.59-20.31 mg/g dry seed น้ำตาลสกัดเหล่านี้กระตุ้นการเจริญของแบคทีเรีย Lactobacillusacidophilus TISTR1338, L. plantarum TISTR541 และ L. lactis TISTR1464 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ไม่สามารถกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhimurium TISTR292 และ Escherichia coli นอกจากนี้ ยังพบว่าการเจริญของแบคทีเรีย S. Typhimurium สามารถถูกยับยั้งเมื่อเพาะเลี้ยงร่วมกับ Lactobacillus sp. ทั้ง 3 สายพันธุ์ในอาหารที่มีน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวเป็นแหล่งคาร์บอน ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวผิวมันทั้ง 4 สายพันธุ์แสดงคุณสมบัติเบื้องต้นในการเป็นสารพรีไบโอติกได้
No physical items for this record

YJ2021 M01

เมล็ดพืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งของน้ำตาลโอลิโกแซคคาไรด์กลุ่มราฟฟิโนสซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสารพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้ เมล็ดถั่วเขียวผิวมัน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ได้ถูกนำมาสกัดน้ำตาลที่มีขนาโมเลกุลเล็กด้วยสารละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 (v/v) จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณน้ำตาลและศึกษาความสามารถของน้ำตาลสกัดในการกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียบางสายพันธุ์จากทางเดินอาหารมนุษย์ ผลการทดลองพบว่าน้ำตาลสกัดจากถั่วเขียวทั้ง 4 สายพันธุ์มีขนาดเฉลี่ยในรูปจำนวนหน่วยน้ำตาลอยู่ระหว่าง 3-7 หน่วย โดยพันธุ์กำแพงแสน 2 ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 พบน้ำตาลราฟฟิโนสในปริมาณ 1.76-2.29 mg/g dry seed สตาชิโอส 33.95-34.82 mg/g dry seed และเวอบาสโคส 13.59-20.31 mg/g dry seed น้ำตาลสกัดเหล่านี้กระตุ้นการเจริญของแบคทีเรีย Lactobacillusacidophilus TISTR1338, L. plantarum TISTR541 และ L. lactis TISTR1464 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ไม่สามารถกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhimurium TISTR292 และ Escherichia coli นอกจากนี้ ยังพบว่าการเจริญของแบคทีเรีย S. Typhimurium สามารถถูกยับยั้งเมื่อเพาะเลี้ยงร่วมกับ Lactobacillus sp. ทั้ง 3 สายพันธุ์ในอาหารที่มีน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวเป็นแหล่งคาร์บอน ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าน้ำตาลสกัดจากเมล็ดถั่วเขียวผิวมันทั้ง 4 สายพันธุ์แสดงคุณสมบัติเบื้องต้นในการเป็นสารพรีไบโอติกได้

There are no comments on this title.

to post a comment.