มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน / อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์, สุวินัย เกิดทับทิม, สมเเกียรติ พรพิสุทธิมาศ.

By: อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์Contributor(s): สุวินัย เกิดทับทิม | สมเเกียรติ พรพิสุทธิมาศMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD64M01 | ผลิตภัณฑ์อาหาร | ผลิตภัณฑ์อาหาร -- มาตรฐาน In: วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 10, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562) 137-149Summary: กระบวนการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าที่ส่งผลให้ผู้บริโภคยอมรับในคุณภาพ และเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การผลิตอาหารโดยชุมชนท้องถิ่นที่แสดงถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานั้นสามารถยกระดับคุณค่าของสินค้าได้ด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพและประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น ภาครัฐของประเทศไทยจึงมีมาตรการกำกับดูแลที่มุ่งเน้นการผลิตอาหารด้วยวิธีการถูกสุขลักษณะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ผลิต และผู้ประกอบอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตสำเร็จแล้วต้องถูกตรวงสอบทั้งด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาก่อนนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะได้รับเลขสารบบอาหาร 13 หลัก ซึ่งมีความหมายในด้านแหล่งที่มาของอาหารและสถานะของการได้รับอนึญาตให้ผลิต นอกจากนี้ผู้ประกอบการท้องถิ่นควรได้รับการตรวจสอบด้านคุณภาพเพื่อขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำปรึกษาในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมกับให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการผลิตอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ประกอบการท้องถิ่นจึงควรปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานที่ภาครัฐได้วางแนวทางไว้เพื่อผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.
No physical items for this record

YJ2020 M04

กระบวนการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าที่ส่งผลให้ผู้บริโภคยอมรับในคุณภาพ และเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การผลิตอาหารโดยชุมชนท้องถิ่นที่แสดงถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานั้นสามารถยกระดับคุณค่าของสินค้าได้ด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพและประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น ภาครัฐของประเทศไทยจึงมีมาตรการกำกับดูแลที่มุ่งเน้นการผลิตอาหารด้วยวิธีการถูกสุขลักษณะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ผลิต และผู้ประกอบอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตสำเร็จแล้วต้องถูกตรวงสอบทั้งด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาก่อนนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะได้รับเลขสารบบอาหาร 13 หลัก ซึ่งมีความหมายในด้านแหล่งที่มาของอาหารและสถานะของการได้รับอนึญาตให้ผลิต นอกจากนี้ผู้ประกอบการท้องถิ่นควรได้รับการตรวจสอบด้านคุณภาพเพื่อขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำปรึกษาในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมกับให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการผลิตอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ประกอบการท้องถิ่นจึงควรปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานที่ภาครัฐได้วางแนวทางไว้เพื่อผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.

There are no comments on this title.

to post a comment.