สารโบรมีเลนในสับปะรด / สุนิษฐา เศรษฐีธร

By: สุนิษฐา เศรษฐีธรMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD56M12 | บรอมีเลน -- แง่อนามัย | สับปะรด -- บรอมีเลน In: FOOD INSIGHT CONNECT 13 (2555) 46-47Summary: สารโบรมีเลน (Bromelain) หรือ โบรมีลิน (Bromelin) เป็นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติในการช่วยย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง สามารถสกัดได้จากผลและลำต้นของสับปะรด จากการศึกษาวิจัย พบว่า สารโบรมีเลน มีสรรพคุณในการลดหรือบรรเทาอาการอักเสบ อาการบวม บรรเทาอาการคันหรือชาที่บริเวณปลายประสาท ลดอาการเส้นเลือดอุดตัน ลดความเสี่ยงของการหัวใจวาย บรรเทาอาการหอบหืด ลดการเกิดเส้นเลือดขอด ลดอาการเจ็บปวด เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อขาและเท้า รวมถึง อาการระคายเคืองของผิวหนัง ในลำต้นของสับปะรดมีสารโบรมีเลนสะสมอยู่มากกว่าในผล จึงมีการวิจัยเพื่อสกัดสารโบรมีเลนและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเม็ด ซึ่งสัดส่วนและปริมาณการบริโภคจะแตกต่างตามโรค เช่น ผู้ป่วยโรคข้อ แนะนำบริโภคมื้อละ 250-750 มิลลิกรัม โดยควรบริโภค 2-3 มื้อต่อวันในผู้ป่วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ แนะให้บริโภคในปริมาณ 400-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ การบริโภคสารโบรมีเลน จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อบริโภคขณะท้องว่าง.
No physical items for this record

YJ2014 M04

สารโบรมีเลน (Bromelain) หรือ โบรมีลิน (Bromelin) เป็นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติในการช่วยย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง สามารถสกัดได้จากผลและลำต้นของสับปะรด จากการศึกษาวิจัย พบว่า สารโบรมีเลน มีสรรพคุณในการลดหรือบรรเทาอาการอักเสบ อาการบวม บรรเทาอาการคันหรือชาที่บริเวณปลายประสาท ลดอาการเส้นเลือดอุดตัน ลดความเสี่ยงของการหัวใจวาย บรรเทาอาการหอบหืด ลดการเกิดเส้นเลือดขอด ลดอาการเจ็บปวด เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อขาและเท้า รวมถึง อาการระคายเคืองของผิวหนัง ในลำต้นของสับปะรดมีสารโบรมีเลนสะสมอยู่มากกว่าในผล จึงมีการวิจัยเพื่อสกัดสารโบรมีเลนและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเม็ด ซึ่งสัดส่วนและปริมาณการบริโภคจะแตกต่างตามโรค เช่น ผู้ป่วยโรคข้อ แนะนำบริโภคมื้อละ 250-750 มิลลิกรัม โดยควรบริโภค 2-3 มื้อต่อวันในผู้ป่วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ แนะให้บริโภคในปริมาณ 400-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ การบริโภคสารโบรมีเลน จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อบริโภคขณะท้องว่าง.

There are no comments on this title.

to post a comment.