ชาเครื่องดื่มหอมกรุ่น เพื่อสุขภาพ / ณภัทร เฉลิมชุติปภา

By: ณภัทร เฉลิมชุติปภาMaterial type: ArticleArticleSubject(s): FOOD58M08 | ชา -- ประวัติ | ชา -- แง่อนามัย | ชา -- แง่โภชนาการ | ชา -- ประเภท | ชา -- สรรพคุณทางยา | ชา -- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ In: UPDATE 29, 318 (เม.ย.-พ.ค. 2557) 34-39Summary: ต้นชา (Tea) หรือภาษาถิ่นทางเหนือเรียกว่า เมี่ยง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คาเมลเลีย ไซเนนซิส (Camellia Sinensis) นอกจากชาที่ได้จากต้นชาแล้ว ชายังหมายรวมถึง เครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ผลิตจากพืชตากแห้งชนิดอื่น ที่นำมาผ่านการชง หรือต้มกับน้ำร้อน เช่น ชาดอกคำฝอย ชาดอกบัว ชาดอกกุหลาบ ชาดอกอัญชัน ชาใบหม่อน ชาที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ได้แก่ ชาเขียว จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินอี ละซี ช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสันได้ นอกจากนี้สารสกัดจากชาเขียวยังช่วยลดจุดด่างดำบนผิวหน้า ให้ดูอ่อนเยาว์ได้ ชาขาว จะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถชะลอการเจริญเติบโตของไวรัสและแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ป้องกันมะเร็ง ลดริ้วรอย ชาอู่หลง มีสรรพคุณกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกกระฉับกระเฉง ลดไขมันในเลือด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันฟันผุ ผิวหนังอักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และหลอดเลือด ควบคุมโรคอ้วน ช่วยในการลดน้ำหนัก ควบคุมโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ชาดำ มีปริมาณแคลอรี โปรตีน โซเดียม และไขมันต่ำ ทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคนิ่วในไต โรคหัวใจและหลอดเลือด บรรเทาอาการปวดศรีษะ ป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสัน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ตลอดจนช่วยลดน้ำหนัก ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการคลื่นไส้ และท้องเสียได้ การดื่มชามากเกินไปจะมีผลเสียต่อสุขภาพ เพราะมีปริมาณกาเฟอีนสูง หากดื่มเกินวันละ 5 แก้ว จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดความเสี่ยงในการแท้งบุตร และส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย ผู้ที่ให้นมบุตรจะทำให้ลูกเกิดอาการลำไส้แปรปรวน จึงควรดื่มชาแต่พอดี.
No physical items for this record

YJ2016 M01

ต้นชา (Tea) หรือภาษาถิ่นทางเหนือเรียกว่า เมี่ยง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คาเมลเลีย ไซเนนซิส (Camellia Sinensis) นอกจากชาที่ได้จากต้นชาแล้ว ชายังหมายรวมถึง เครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ผลิตจากพืชตากแห้งชนิดอื่น ที่นำมาผ่านการชง หรือต้มกับน้ำร้อน เช่น ชาดอกคำฝอย ชาดอกบัว ชาดอกกุหลาบ ชาดอกอัญชัน ชาใบหม่อน ชาที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ได้แก่ ชาเขียว จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินอี ละซี ช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสันได้ นอกจากนี้สารสกัดจากชาเขียวยังช่วยลดจุดด่างดำบนผิวหน้า ให้ดูอ่อนเยาว์ได้ ชาขาว จะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถชะลอการเจริญเติบโตของไวรัสและแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ป้องกันมะเร็ง ลดริ้วรอย ชาอู่หลง มีสรรพคุณกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกกระฉับกระเฉง ลดไขมันในเลือด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันฟันผุ ผิวหนังอักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และหลอดเลือด ควบคุมโรคอ้วน ช่วยในการลดน้ำหนัก ควบคุมโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ชาดำ มีปริมาณแคลอรี โปรตีน โซเดียม และไขมันต่ำ ทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคนิ่วในไต โรคหัวใจและหลอดเลือด บรรเทาอาการปวดศรีษะ ป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสัน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ตลอดจนช่วยลดน้ำหนัก ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการคลื่นไส้ และท้องเสียได้ การดื่มชามากเกินไปจะมีผลเสียต่อสุขภาพ เพราะมีปริมาณกาเฟอีนสูง หากดื่มเกินวันละ 5 แก้ว จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดความเสี่ยงในการแท้งบุตร และส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย ผู้ที่ให้นมบุตรจะทำให้ลูกเกิดอาการลำไส้แปรปรวน จึงควรดื่มชาแต่พอดี.

There are no comments on this title.

to post a comment.