การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ร่วมกับเทคนิค IDMS ในการแยกสารผสมเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์ในกระดาษบรรจุภัณฑ์อาหาร / หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง.

By: หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้งMaterial type: ArticleArticleSubject(s): Material62M04 | บรรจุภัณฑ์กระดาษ | สารก่อมะเร็ง | หมึกพิมพ์ | กรมวิทยาศาสตร์บริการ -- วิจัย In: วารสารผลงานวิชาการกรมวิทยาศาสตร์บริการ 7, 7 (ส.ค. 2561) 104-114Summary: รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ร่วมกับ Isotope Dilution Mass spectrometry (IDMS) เพื่อแยกสารผสมเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์ ได้แก่ 4-เมทิลเบนโซฟีโนน, 4-ไฮดรอกซีเบนโซฟีโนน, 2-ไฮดรอกซีเบนโซฟีโนน, 4,4'-บิส(ไดเมทิลอะมิโน)เบนโซฟีโนน และ 4,4'-บิส(ไดเอทิลอะมิโน)เบนโซฟีโนน สารก่อมะเร็งทั้ง 6 ตัวนี้มักใช้เป็นสารเริ่มปฏิกิริยาด้วยแสงชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของหมึกที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์กระดาษ ในการศึกษานี้ได้ใช้เบนโซฟีโนน-D10 เป็นสารมาตรฐานภายใน และ ใช้แคปปิลาลีคลอลัมน์ ชนิด 50% ไดฟีนิล/50% ไดเมทิล พอลีไซลอกเซน เป็น GC-MS คอลัมน์ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมนี้ได้โดยการเปลี่ยน อุณหภูมิเริ่มต้น อุณหภูมิสุดท้าย และอัตราการเพิ่มอุณหภูมิของตู้อบคอลัมน์ เมื่อใช้โหมด GC-MS full scan ผลการศึกษาพบว่ามี 3 วิธีที่สามารถแยกสารอันตรายทั้ง 6 สาร ได้ภายในเวลา 24, 29 และ 41 min ตามลำดับ ได้เลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับตู้อบคอลัมน์โดยเลือกจากวิธีที่ใช้เวลาในการทดสอบสั้นที่สุด คือ 24 min และเปลี่ยนโหมดในการทดสอบจากโหมด GC-MS full scan ไปเป็นโหมด selective ion monitoring (SIM) เพื่อให้เห็นความแตกต่างของพีกที่ใช้การคำนวณหาปริมาณของเบนโซฟีโนน (m/z = 105) และ ของเบนโซฟีโนน-D10 (m/z = 110) สุดท้ายสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อทดสอบหาปริมาณสารเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์อีก 5 ชนิด ในตัวอย่างกระดาษบรรจุภัณฑ์อาหารโดยเปรียบเทียบปริมาณกับกราฟมาตรฐานซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์การยอมรับได้ (r2 \tiny \geqslant 0.990)
No physical items for this record

YJ2019 M04

รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ร่วมกับ Isotope Dilution Mass spectrometry (IDMS) เพื่อแยกสารผสมเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์ ได้แก่ 4-เมทิลเบนโซฟีโนน, 4-ไฮดรอกซีเบนโซฟีโนน, 2-ไฮดรอกซีเบนโซฟีโนน, 4,4'-บิส(ไดเมทิลอะมิโน)เบนโซฟีโนน และ 4,4'-บิส(ไดเอทิลอะมิโน)เบนโซฟีโนน สารก่อมะเร็งทั้ง 6 ตัวนี้มักใช้เป็นสารเริ่มปฏิกิริยาด้วยแสงชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของหมึกที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์กระดาษ ในการศึกษานี้ได้ใช้เบนโซฟีโนน-D10 เป็นสารมาตรฐานภายใน และ ใช้แคปปิลาลีคลอลัมน์ ชนิด 50% ไดฟีนิล/50% ไดเมทิล พอลีไซลอกเซน เป็น GC-MS คอลัมน์ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมนี้ได้โดยการเปลี่ยน อุณหภูมิเริ่มต้น อุณหภูมิสุดท้าย และอัตราการเพิ่มอุณหภูมิของตู้อบคอลัมน์ เมื่อใช้โหมด GC-MS full scan ผลการศึกษาพบว่ามี 3 วิธีที่สามารถแยกสารอันตรายทั้ง 6 สาร ได้ภายในเวลา 24, 29 และ 41 min ตามลำดับ ได้เลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับตู้อบคอลัมน์โดยเลือกจากวิธีที่ใช้เวลาในการทดสอบสั้นที่สุด คือ 24 min และเปลี่ยนโหมดในการทดสอบจากโหมด GC-MS full scan ไปเป็นโหมด selective ion monitoring (SIM) เพื่อให้เห็นความแตกต่างของพีกที่ใช้การคำนวณหาปริมาณของเบนโซฟีโนน (m/z = 105) และ ของเบนโซฟีโนน-D10 (m/z = 110) สุดท้ายสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อทดสอบหาปริมาณสารเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์อีก 5 ชนิด ในตัวอย่างกระดาษบรรจุภัณฑ์อาหารโดยเปรียบเทียบปริมาณกับกราฟมาตรฐานซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์การยอมรับได้ (r2 \tiny \geqslant 0.990)

There are no comments on this title.

to post a comment.